เรียนรู้ความสัมพันธ์ของข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรและข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์

เรียนรู้ความสัมพันธ์ของข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรและข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์

ดร.ชานนท์ วินิจชีวิต
จากระบบ smartgreeny.com

หลาย ๆ ท่านที่สนใจอยากเริ่มทำข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ควรเริ่มจากคาร์บอนฟุตพริ้นท์รูปแบบไหนก่อนดี ระหว่างข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรและข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ หรือควรทำพร้อมกันไปเลย และข้อมูลที่เราทำจะใช้งานร่วมกันได้มั้ย ก่อนอื่นเรามาเรียนรู้แบบกว้าง ๆ ของแต่ละคาร์บอนฟุตพริ้นท์ก่อน

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) หมายถึง ปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas emissions and removals) ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร โดยการแสดงปริมาณค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรอยู่ในหน่วยตัน (หรือกิโลกรัม) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยมาตรฐานการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรของไทยมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล คือ ISO 14064-1

โดยมีการแบ่งเป็น 3 สโคป คือ

  • Scope 1 การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร เช่น การใช้น้ำมัน แก๊ส ที่ใช้ในการดำเนินผลิต ขนส่ง เป็นต้น
  • Scope 2 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงานการใช้ไฟฟ้าในการผลิต หรือ ส่วนไฟฟ้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น ไฟฟ้าส่องสว่าง, เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
  • Scope 3 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ เช่น ได้มาซึ่งวัตถุดิบ การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน เป็นต้น

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product : CFP)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product : CFP) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตลอดวัฏจักรชีวิต ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน ตลอดจนการขนส่งที่เกี่ยวข้องในทุก ๆ ขั้นตอน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากนั้นจึงเผยแพร่ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์บนผลิตภัณฑ์ในรูปของฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบว่าสินค้าและบริการ ดังกล่าวคำนึงถึงผลกระทบด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมาตรฐานการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ของไทยมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล คือ ISO 14067

โดยแบ่งเป็น 5 กระบวนการ

  1. การจัดหาวัตถุดิบ คือ ข้อมูลวัตถุดิบที่เราเอามาใช้ในการผลิต และรวมถึงการได้มาซึ่งวัตถุดิบนั้น ๆ ด้วย เช่น การขนส่งจากซัพพลายเออร์มายังที่โรงงานเรา
  2. การผลิต คือ ทรัพยกรที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการผลิตสินค้านั้น ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ไฟฟ้าจากเครื่องจักรที่ทำงานผลิตนั้น ซึ่งร่วมถึงไฟฟ้าสนับสนุนต่าง ๆ ด้วย เช่น เครื่องปรับอากาศ ไฟส่องทาง เป็นต้น
  3. การกระจายสินค้า คือ การใช้ทรัพยกรเพื่อกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค เช่น การใช้เชื้อเพลิงของรถขนส่ง
  4. การใช้งาน/บริโภค คือ การใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวของกับสินค้าเราเพื่อให้เกิดการใช้งานที่สมบูรณ์มากขึ้น
  5. การจัดการของเสียหลังการใช้งานผลิตภัณฑ์ คือ การนำสินค้านั้นที่ใช้งานแล้วนำส่ง กำจัดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฝังกลบ หรือ รีไซเคิล เป็นต้น

ซึ่งเมื่อเราศึกษา ทั้งข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรและข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์คร่าว ๆ แล้ว สิ่งที่เรา ก็คือ บางส่วนของความหมาย มีความเหมือนกัน หรือ คล้ายคลึงกัน และสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ โดยภาพที่แสดงนี้เป็นการแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างง่ายของข้อมูลกิจกรรม CFO และ CFP ในภาพรวมเท่านั้น ทั้งนี้องค์กรจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลกิจกรรมให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กรหรือผลิตภัณฑ์

ฉะนั้นจากคำถามที่ว่า “ควรเริ่มจากคาร์บอนฟุตพริ้นท์รูปแบบไหนก่อนดี ระหว่างข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรและข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ หรือควรทำพร้อมกันไปเลย และข้อมูลที่เราทำจะใช้งานร่วมกันได้มั้ย” ถ้าเราดูจากข้อมูลด้านบนแล้วจะเห็นว่าการเก็บข้อมูลของเรา สามารถใช้งานร่วมกันได้ เราควรทำไปพร้อมกันเลย ประหยัดเวลา และเป็นการสร้างฐานข้อมูลที่สอดคล้องกันด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า