Opportunities and challenges of the printing industry under the BCG policy
โอกาสและความท้าทายของอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ภายใต้นโยบายเศษฐกิจ BCG
ดร. ชานนท์ วินิจชีวิต จากระบบ smartgreeny.com
ก่อนที่เราจะหาโอกาสและความท้าทายเจอนั้น เราควรมารู้จักกับ ความหมายของนโยบายเศษฐกิจ BCG หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม
นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste) ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy)
(ที่มา: www.bcg.in.th)
จะเห็นว่าหลักการที่สำคัญของ BCG จะมุ่งเน้นไปในอุตสาหกรรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ก็ตาม แต่ในฐานะที่เราอยู่ในอุตสาหกรรมนี้เราก็ยังไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ เพราะอนาคตการขยายนโยบายเศษฐกิจ BCG อาจจะมีการขยายตัวไปที่อุตสาหกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม เราจำเป็นต้องเตรียมตัวไว้เสมอ โดยถึงวันนี้ยังไม่มาไม่ถึงก็ตามได้ แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์เป็นส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมหลักเหล่านั้นไปถึงเป้าหมายได้ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำหนักเบา, เพิ่มพื้นที่การใช้สอด หรือ แม้กระทั่ง การเอาวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น กระดาษรีไซเคิล หมึกพิมพ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตสิ่งพิมพ์ การผลิตสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นที่ต่ำ (Low Carbon-Footprint) การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้น คาร์บอนเครดิต และรวมถึง การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการจัดการธุรกิจเพื่อลดต้นทุนและความผิดพลาดในการทำงาน เช่น ระบบ ERP, ระบบการจัดการขนส่ง, ระบบ E-Commerce ก็ถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและเป็นการช่วยทางอ้อมของนโยบายนี้ในอีกรูปแบบหนึ่ง
นอกจากเพื่อศักยภาพในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์แล้ว ทั้ง 3 แนวทางนี้ จะกลายเป็นจุดแข็งและความท้าทายในการสร้างโอกาสทางการค้าใหม่ ๆ ให้เราได้ ทำตามหลักการนโยบายเศรษฐกิจ BCG ได้เป็นอย่างดีด้วย