3 Tips to reduce Carbon footprint for Printing House
เคล็ดลับ 3 ข้อ ในการช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นในโรงพิมพ์
ดร.ชานนท์ วินิจชีวิต จากระบบ smartgreeny.com
ยังคงเป็นคำถามที่น่าสนใจว่าโรงพิมพ์จะต้องทำอย่างไร ที่จะมีส่วนช่วยลดปริมาณการเกิดคาร์บอนฟุตพริ้นลงได้ โดยหากเราดูปริมาณการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้น ที่เกิดจากการพิมพ์เมื่อเปรียบเทียบกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สิ่งพิมพ์ทั่วไปจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ ประมาณ 5-6 กรัม คาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าต่อหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเคล็ดลับ 3 ข้อ ง่ายๆ ที่จะช่วยทำให้สิ่งพิมพ์และโรงพิมพ์ของเราลดคาร์บอนฟุตพริ้นลงได้
1. โรงพิมพ์ต้องมีการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นสำหรับผลิตและองค์กร Carbon footprint for Product and Organization Calculated (CFP,CFO)
ขั้นตอนและวิธีการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นสำหรับผลิตและองค์กร ทางผู้เขียนได้อธิบายไปเบื้องต้นบ้างและในนิตยสารการพิมพ์ไทย ฉบับที่ 142-143 เพื่อให้องค์กรได้ทราบว่า สินค้าและองค์กรเรามีการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นไปในปริมาณที่เท่าไร
2. วางแผนการลดการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นในโรงพิมพ์ Carbon Footprint reduction plan for Printing house
จากผลลัพธ์ในข้อที่ 1 การคำนวณการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นสินค้า หรือ องค์กร มักจะเห็นว่า ปัจจัยที่หน้าสนใจมากที่ส่งผลทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอน จะมี 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ การใช้พลังงานไฟฟ้า, การใช้และได้มาของวัตถุดิบเพื่อการผลิตสินค้าในโรงพิมพ์ และการควบคุมการใช้/สูญเสีย กระดาษจากการผลิต
2.1 การใช้พลังงานไฟฟ้า ในโรงพิมพ์ ถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจาก เครื่องจักรต่าง ๆ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยพลังงานไฟฟ้าในการทำงานทั้งสิ้น ไฟฟ้าเลยกลายเป็นปัจจัยในการก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นค่อยข้างสูง วิธีง่ายๆ ที่โรงพิมพ์ ควรเริ่มวางแผนในการทำ เช่น การที่โรงพิมพ์จะหันมามอง การทำหลังคาโปร่งแสงในบ้างจุด, ติดตั้งโซล่าเซลล์, การหมั่นดูแลการทำงานของเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อลดการสิ้นเปลืองไฟฟ้าในการดำเนินการ หรือ การตั้งการปิด-เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าให้เป็นเวลา ใช้ในเวลาที่จำเป็นเท่านั้น ก็เป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องคำนึง โดยวิธีการเหล่านี้ นอกจากเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นที่เกิดจากพลังงานไฟฟ้าได้แล้ว ยังถือเป็นการลดต้นทุนในการผลิตลงได้อีกทางหนึ่งด้วย
2.2 การใช้และการได้มาซึ่งวัตถุดิบเพื่อการผลิต ถึงแม้ว่าวัตถุดิบที่โรงพิมพ์นำมาใช้จะเป็นสิ่งที่เราไม่ได้เป็นผู้ที่สร้างโดยตรง เช่น กระดาษ หมึก สารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในสิ่งพิมพ์ แต่ในเชิงการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นแล้ว โรงพิมพ์ถือได้ว่าส่วนหนึ่งโดยทางอ้อมที่ต้องเราทราบและพยายามพัฒนากลไกลเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนลงให้ได้ โดยการสร้างนโนบายสีเขียว (Green Policy) ในฝ่ายจัดซื้อ เช่น นโยบายที่ว่า ผู้ผลิต (Suppliers) ต้องมีการอธิบาย แหล่งที่มาของวัตถุดิบในเชิงคาร์บอนให้ได้ กระดาษที่โรงพิมพ์สั่งซื้อ 1 กิโลกรัม มีคาร์บอนฟุตพริ้นปริมาณที่เท่าไร, หมึกที่เราซื้อมา 1 กระป๋อง มีการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นปริมาณที่เท่าไร ซึ่งถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่ผู้ผลิตต้องแจ้งให้เราทราบ เพื่อนำค่าคาร์บอนฟุตพริ้นนั้นมาประเมิณต่อไป ซึ่งถ้าผู้ผลิตนั้นมีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นของวัตถุดิบนั้น น้อยมากกว่าคู่แข่ง ก็ควรยอมได้รับสิทธิในการพิจารณาสูงมากกว่า โรงพิมพ์อาจต้องเปลี่ยนแปลงมุมมองจากเลือกคู่ค้า โดยจากมองแค่ด้านราคาและคุณภาพ มาเป็นดูควบคู่ไปกับปริมาณของค่าคาร์บอนฟุตพริ้นเพิ่มเติมด้วย เป็นต้น
2.3 การควบคุมการใช้ /การสูญเสีย กระดาษจากการผลิตโดยทั่วไป วัตถุดิบประเภทกระดาษถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญ และมีปริมาณการใช้งานมากที่สุดในโรงพิมพ์ ทำให้ปริมาณคาร์บอนที่เกิดขึ้นในโรงพิมพ์ทางอ้อมค่อยข้างสูง ถึงแม้เราจะไม่ได้เป็นผู้ผลิตกระดาษโดยตรงก็ตาม แต่โรงพิมพ์สามารถหาวิธีการพัฒนาในการลดการใช้ หรือ การสูญเสียลงได้ โดยการทดสอบอย่างจริงจังของการทำงานในแต่ละเครื่องจักรโดยเฉพาะเครื่องพิมพ์ ซึ่งเป็นกระบวนการหลักที่ก่อให้เกิดการสูญเสียกระดาษ เช่น การพิมพ์น้อยมากกว่า 20,000 รอบพิมพ์ คำนวณสูญเสียเป็นแผ่นพิมพ์ควรเป็นขั้นบันได ถ้ารอบพิมพ์สูงมากกว่า 20,000 รอบพิมพ์ ควรคำนวณสูญเสียเป็นเปอร์เซ็นต์จำนวนกระดาษของการพิมพ์ แต่อย่างไรก็ตาม สมสมการนี้ต้องขึ้นอยู่ที่ความเหมาะสมกับสภาพลักษณะงานและเรื่องจักรของแต่ละโรงพิมพ์ด้วย
3. การซื้อคาร์บอนเครดิต
การซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนได้ โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่มีกิจกรรมการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นมากเกินไป ก็สามารถมาซื้อคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอน (Carbon Market) เพื่อชดเชยปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นที่เกิดจากโรงพิมพ์เราได้ โดยวิธีการนี้จะมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่โรงพิมพ์ต้องรับผิดชอบ ตามปริมาณที่โรงพิมพ์ได้ก่อขึ้น ไม่ว่าจะเกิดจากการคำนวณในรูปแบบคาร์บอนฟุตพริ้นสำหรับองค์กร หรือ คาร์บอนฟุตพริ้นสำหรับผลิตภัณฑ์นั้นก็ตาม โดยถ้ามีการซื้อคาร์บอนเครดิตจนสามารถหักล้างกับปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นจากกิจกรรมได้ครบถ้วยจนเป็นศูนย์ เราจะเรียกผลลัพธ์นี้ว่า คาร์บอนนิวทรัล (Carbon Neutrality)