3 เทรนด์สำคัญของเทคโนโลยีคลาวด์ในอนาคต ที่ทุกองค์กรต้องปรับใช้
สถาปัตยกรรมที่สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรับแต่งให้เข้ากับรูปแบบการดำเนินธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบ
ทิศทางของเทคโนโลยีคลาวด์สำหรับองค์กรในอนาคตว่า มีเสาหลักสำคัญ คือ สถาปัตยกรรมที่สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรับแต่งให้เข้ากับรูปแบบการดำเนินธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบ รองรับข้อจำกัดของการประกอบกิจการที่แตกต่างกันไป
ปัจจุบันหลายองค์กรปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อยกระดับความสามารถในการทำงาน ซึ่งคลาวด์ที่จะตอบโจทย์การใช้งานในอนาคต จำเป็นจะต้องมีสถาปัตยกรรมที่สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว มีความยืดหยุ่น และรองรับการทำงานในหลากหลายรูปแบบ
ภายใต้หัวใจสำคัญคือ เทคโนโลยีคลาวด์ในยุคใหม่ ต้องสามารถปรับแต่งบริการสำหรับลูกค้าให้ตอบสนองเทรนด์ของการดำเนินธุรกิจได้ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยมีฟีเจอร์สำคัญ 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. สถาปัตยกรรมแบบไร้ขอบเขต (Regionless Architecture)
ฟีเจอร์ที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้บริการเทคโนโลยีคลาวด์ได้แม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี อีกทั้งยังสามารถใช้บริการคลาวด์ได้จากพื้นที่ทั้งภายในประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยเรียกเทคโนโลยีคลาวด์นี้ว่า Global Cloud Resource Orchestration & Scheduling (GOS) ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ล้ำสมัยกว่าเดิมและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2. การประมวลผลผ่านเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่น (Flexible Computing)
คลาวด์ของหัวเว่ยมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ระบบต่าง ๆ สามารถทำงานสอดประสานกันได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว และที่สำคัญคือมี การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาประยุกต์ใช้เพื่อกระจายกำลังการทำงาน พร้อมส่งมอบประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุดและราบรื่นที่สุดให้แก่ลูกค้า
3. การบริหารจัดการการทำงานของแอปพลิเคชันบนคลาวด์ (Cloud Application Operation)
ฟีเจอร์ดังกล่าวจะช่วยส่งมอบคุณภาพด้านเครือข่าย (Network) ที่ดีขึ้น และสามารถทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากทุกแห่งทั่วโลก เช่น หากต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลไปที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ระบบจะค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุดในภูมิภาคนั้น เพื่อให้ส่งต่อข้อมูลได้ไว ลดค่าความหน่วง (Latency) ให้น้อยที่สุด ทำให้บริการคลาวด์นั้น ๆ สามารถเข้าถึงลูกค้าในหลายภูมิภาค (Multiple Region) ได้รวดเร็วกว่าเดิม และมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง
นอกจากนี้ เทคโนโลยีคลาวด์ยังได้กลายมาเป็นบริการพื้นฐานที่หลายองค์กรปรับใช้ในปัจจุบัน เพราะถือเป็นตัวแปรหลักที่สามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน พัฒนาประสิทธิภาพของการทำงานในองค์กร และที่สำคัญคือ สามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ จากการลดต้นทุนและส่งมอบสินค้าหรือบริการที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า