รู้จัก Barcode 2D
เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ โดยเพิ่มแกนด้านสูงขึ้นมาทำให้รับข้อมูลได้มากขึ้น
บาร์โค้ด (Barcode) คืออะไร
บาร์โค้ด (barcode) หรือในภาษาไทยเรียกว่า “รหัสแท่ง” ประกอบด้วยเส้นมืด (มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง (มักเป็นสีขาว) วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็วและช่วยลดความผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก บาร์โค้ดเริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1950 โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้นสำหรับค้นคว้า รหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรมและสามารถจัดพิมพ์ระบบบาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform ขึ้นได้ในปี 1973 ต่อมาในปี 1975 กลุ่มประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ดเรียกว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่น ๆ (ยกเว้นอเมริกาเหนือ) และระบบบาร์โค้ด EAN เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี1987
2D Barcode
QR code หรือ two-dimension-barcodeหรือ 2D barcode เป็นบาร์โค้ดแบบเดียวกันทั้งหมดมีการคิดค้นขึ้นในปี 1994 โดยบริษัทญี่ปุ่นชื่อ Densowave (Denso-wave,1994) ได้จดลิขสิทธิ์ในชื่อว่า “QR Code” โดยความหมายของ QR code นั้นมาจากคำว่า Quick Response มีความหมายว่า การตอบสนองที่รวดเร็ว ซึ่งเป็นเป้าหมายของผู้ที่คิดค้น code นี้ขึ้นมาในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศ และมีการเรียกชื่อบาร์โค้ดชนิดนี้ว่า 2D barcode เพื่อหลีกเลี่ยงกับปัญหาลิขสิทธิ์ประเทศไทยได้มีการเริ่มนำ QR code นี้มาใช้ใน 1-2 ปี ที่ผ่านมา โดยได้มีการนำมาใช้ในการโฆษณาสินค้าที่มีการนำโค้ดนี้มาไว้ข้างกล่องของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม และให้นำโค้ดข้างกล่องเครื่องดื่มมาส่องกับกล้องที่ต่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะสามารถเห็นเป็นภาพขึ้นมาได้
บาร์โค้ด 2 มิติต่างกับ 1 มิติอย่างไร
สำหรับ barcode ที่เป็นแบบ 1 มิติเป็นการอ่านบาร์โค้ดตามแนวยาวเป็นการอ่านที่เริ่มอ่านจากระยะห่างและความหนาของแท่ง ซึ่งความยาวของโค้ดนั้นจะแปรผันตามความยาวของจำนวนข้อมูล คือ ถ้ายิ่งมากก็ยิ่งยาว เช่น ถ้าตัวเลข 50 ตัวอาจจะต้องใช้ความยาวมากกว่า 20 ซม. และเมื่อยิ่งยาวโอกาสอ่านผิดพลาด ก็มีสูงเนื่องจากเครื่องอ่านรับข้อมูลได้ไม่หมด
ส่วนลักษณะของบาร์โค้ด 2 มิติ จะความสามารถในการสแกนในลักษณะรูปภาพจะมีลักษณะเหมือนการกดภาพถ่ายกล้องดิจิตอล เพื่อประมวลผลอ่านค่าโดยเพิ่มแกนด้านสูงขึ้นมาทำให้รับข้อมูลได้มากขึ้น ข้อมูลที่มากขึ้นนี้ เป็นจุดเด่นของ barcode แบบ 2D ที่จะนำไปประยุกต์ที่การใช้งานสูงขึ้นได้
การพัฒนาบาร์โค้ดในงานอุตสาหกรรม (Barcode Development in Industrial)
การนำบาร์โค้ดมาใช้ในธุรกิจการค้าจะมีคุณประโยชน์หลายประการ เราจะนำเสนอการใช้งานบาร์โค้ดในโรงงานอุตสาหกรรมในแต่ละประเภท จึงจะเน้นถึงระบบ Barcode ในงานอุตสาหกรรมที่นำเจ้ารหัส Barcode เข้ามามีบทบาทในการทำงานทางด้านอุตสาหกรรมไม่ว่าจะทั้ง อุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งขณะนี้ได้ขยายตัวเป็นอย่างมาก อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเจ้ารหัส Barcode นี้ เข้ามามีบทบาทในด้านอุตสาหกรรมในส่วนไหน ลักษณะหน้าตาของ Barcode เมื่อนำมาใช้ในระบบงานอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้กัน
การนำเทคโนโลยีบาร์โค้ดเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการค้า โดยนำบาร์โค้ดมาติดกับตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการจัดเก็บชื่อ รหัส และราคาของสินค้า หรือทางด้านการจัดการสต๊อกสินค้า ช่วยในการตรวจสอบจำนวนสินค้าคงเหลือได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทั้งนี้การนำบาร์โค้ดมาใช้อย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมกันมาก ทว่า คุณสมบัติที่มีอยู่ของบาร์โค้ดแบบ 1 มิตินั้น ยังไม่รองรับความต้องการของผู้ใช้งานได้มากเท่าที่ควร เช่น การบรรจุข้อมูลได้น้อย และการใช้ฐานข้อมูลในการจัดเก็บ เป็นต้น ดังนั้นจึงทำให้มีการพัฒนาบาร์โค้ด 2 มิติขึ้นมา
การพัฒนาบาร์โค้ดในงานอุตสาหกรรม (Barcode Development in Industrial)
มีรายละเอียดดังนี้
อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automovice Industry) เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ พัฒนา ผลิต หาตลาด และจัดจำหน่ายยานยนต์ คุณสามารถสร้างการแสดงทั้งหมดจากฐานผู้ผลิตในระดับปฏิบัติการที่ช่วยให้คุณสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการวางแผนเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดทรัพยากรและลดสินค้าคงคลังที่ชั้นผลิตยานยนต์
อุตสาหกรรมทางเคมี เป็นอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมไปถึงกิจกรรมอุตสาหกรรมมากมายหลายอย่าง อุตสาหกรรมที่ทำเครื่องเคมีทั้งหลายจะผลิตผลสำเร็จรูป เช่น พลาสติก สี ยารักษาโรค ผงซักฟอก วัตถุระเบิด ไยเทียม สีย้อมผ้า และยาฆ่าแมลง เป็นต้น สามารถจำแนกสินค้า ด้านเคมี และวัถุอันตราย และเพิ่มมาตรฐานและความปลอดภัยในสายการผลิต โดยนำเอาระบบบาร์โค้ดเข้ามาช่วยเหลือ สิ่งที่คุณจะได้รับจากการนำเอาระบบบาร์โค้ดมาใช้
ด้านการศึกษา สามารถนำบาร์โค้ดมาใช้กับงานหลาย ๆ ด้าน เช่น ระบบห้องสมุด อุปกรณ์คุรุภัณฑ์ รหัสประจำตัวฯ ตัวอย่างการนำบาร์โค้ดมาใช้ในด้านการศึกษา สามารถนำเอาระบบบาร์โค้ด มาช่วยเหลือในเรื่องห้องสมุด ลดเวลาในการสืบค้นต่าง ๆ และการนำเอาระบบในช่วยในการยืม คืนได้อีกด้วยสิ่งที่จะได้รับจากการนำเอาระบบบาร์โค้ดมาใช้
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นส่วน และส่วนประกอบของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องรับวิทยุ และโทรทัศน์ เป็นต้น สามารถนำเอาระบบบาร์โค้ดมาช่วยเหลือในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Industry) เช่น จำแนกสินค้า รหัสสินค้า สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อการทำงานให้รวดเร็ว แม่นยำและทันต่อการแข่งขันของตลาด จึงได้นำเอาระบบบาร์โค้ดมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ทุกชิ้นส่วน ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สามารถนำไปพัฒนาต่อไปได้
อุตสาหกรรมอาหาร เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีกระบวนการผลิตหลากหลายขั้นตอนและผลผลิตของแต่ละขั้นตอนนั้นยังสามารถนำไปใช้งานต่อได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น สินค้าหนึ่ง เมื่อผ่านกระบวนการขั้นต้นแล้วก็จะสามารถนำไปบริโภคโดยตรงทันที หรือนำไปผ่านกระบวนการปรุง การแปรรูปอย่างง่าย ไปจนถึงการแปรรูปขั้นสูงขึ้นไปได้เช่นเดียวกัน
ในกระบวนการผลิตทุกวันนี้สิ่งที่ต้องคำนึงและปฏิบัติ คือ การทำงานให้รวดเร็ว แม่นยำและทันต่อการแข่งขันของตลาด ตรวจสอบได้ จึงได้นำเอาระบบบาร์โค้ด มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ทุกชิ้นส่วน ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สามารถนำไปพัฒนาต่อไปได้ คุณสามารถนำเอาระบบบาร์โค้ดมาช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ ได้
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานกว่า 1 ล้านคน ซึ่งสูงสุดในภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งยังสามารถทำรายได้เงินตราต่างประเทศได้ปีละกว่าแสนล้านบาท
ไทยเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าส่งออกติดอันดับต้น ๆ ของโลก ด้วยคุณภาพงานที่ดี ราคาเหมาะสม รูปแบบงานและดีไซน์ที่ทันสมัย เหตุนี้ จึงเป็นที่นิยมที่จะนำเอาระบบบาร์โค้ดมาเพื่อรองรับการขยายงานที่ทันต่อความต้องการลูกค้าที่ขยายตัวมากขึ้น และเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการควบคุมสินค้าคงคลังให้เหมาะสม ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป
ด้านการแพทย์ (Healthcare Providers) งานบริหารด้านการแพทย์ในโรงพยาบาลปัจจุบันเป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการ (Management Information System) มาประยุกต์เข้ากับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและมาตรฐานของระบบรับรองคุณภาพโรงพยาบาลแบบต่าง ๆ ตามที่โรงพยาบาลนั้นต้องการ ซึ่งนำมาใช้ช่วยในการบริหารจัดการงานทั่วไปของโรงพยาบาล เช่น งานเวชระเบียนผู้ป่วย งานบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น การนำระบบงานบาร์โค้ดมาใช้ในด้านการแพทย์เพื่องานบริหาร เช่น ผู้ป่วยต้องการความปลอดภัย หมายเลขประจำตัวประชาชนต้องถูกต้อง เพราะยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ยา น้ำเกลือ ที่จะใช้กับคนไข้ต้องถูกต้องแม่นยำ เพื่อลดข้อผิดพลาดในการทำงาน และจะทำสิ่งต่าง ๆ ไปใช้กับผู้ป่วย
ธุรกิจขายธุรกิจค้าปลีก (Retail) ธุรกิจขายธุรกิจค้าปลีก คือ การขายสินค้า และบริการให้แก่ผู้บริโภคคนสุดท้ายเพื่อซื้อไปอุปโภคบริโภคของตนเอง การค้าปลีกได้พัฒนาเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในการดำเนินชีวิตประวัน
ธุรกิจขนส่ง (Transportation) ธุรกิจขนส่งสินค้ามีบทบาทอย่างสูงต่อระบบเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน เพราะเป็นส่วนที่ช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง การขนส่งสินค้ามี 3 ทาง คือ ทางบก น้ำ อากาศ ซึ่งในที่นี้จะเน้นการวิเคราะห์เฉพาะการขนส่งทางบก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าสู่อุตสาหกรรมได้ ในขณะที่การขนส่งทางน้ำและทางอากาศจำเป็นต้องใช้เงินทุนค่อนข้างสูง การนำเอาระบบบาร์โค้ด และอุปกรณ์บันทึกข้อมูลของลูกค้า เส้นทาง รวมถึงการนำมาพัฒนาระบบจัดส่ง เพื่อเพิ่มความรวดเร็วและสะดวกสบายตรวจสอบได้ เลยเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในงานขนส่งสินค้าและบริการ
ระบบคลังสินค้า (Warehouse Operations) การนำบาร์โค้ดมาใช้ในระบบคลังสินค้า สินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความสมดุลในซัพพลายเชน เพื่อให้ระดับสินค้าคงคลังต่ำสุด โดยไม่กระทบต่อระดับการให้บริการ โดยปัจจัยนำเข้าของกระบวนการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง คือ วัตถุดิบ ชิ้นส่วน และวัสดุต่าง ๆ ที่เรียกรวมกันว่าสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์หลายชนิด นอกจากนั้นการที่สินค้าคงคล