Craftsman Roastery Pop-up Café
ร้านกาแฟ อาคารเก่าของโรงพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5
ร้านกาแฟร้านนี้จะเปิดทำการเพียงไม่กี่เดือน แต่เจ้าของทุ่มพลังกายพลังใจทั้งหมดเพื่อสร้างสรรค์ให้กลายเป็นความทรงจำของผู้มาเยือนทุกคน รวมทั้งพยายามทุกวิถีทางที่จะ “ทะนุถนอม” อาคารอายุ 127 ปีแห่งนี้เอาไว้ให้คงเดิมทุกประการในวันที่ส่งมอบคืน
อาคารหลังนี้เดิมชื่อ “โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ” สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นโรงพิมพ์ทันสมัยแห่งแรกของประเทศที่งดงามด้วยสถาปัตยกรรมคลาสสิกผสมวิกตอเรียน นี่คือสถานที่ที่กลายมาเป็น Craftsman at Bamrungmueng Pop-up Café ก่อนปิดตัวลงปลายปีนี้ เพื่อซ่อมบำรุงอาคารครั้งใหญ่ รวมทั้งปรับปรุงพื้นที่ทั้งหมด
โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นโรงพิมพ์ทันสมัยแห่งแรกของประเทศที่งดงามด้วยสถาปัตยกรรมคลาสสิกผสมวิกตอเรียน และนี่คือสถานที่ที่กลายมาเป็น Craftsman at Bamrungmueng Pop-up Café ก่อนปิดตัวลงปลายปีนี้ เพื่อซ่อมบำรุงอาคารครั้งใหญ่ รวมทั้งปรับปรุงพื้นที่ทั้งหมด
โปรเจ็กต์ระยะสั้นครั้งนี้ได้รวบรวมนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ สถาปนิกอนุรักษ์ เชฟ มิกโซโลจิสต์ นักออกแบบแสง ฯลฯ มาทุ่มเทพลังความสามารถด้วยความรักในอาคารเก่าเหมือนกัน และพร้อมแล้วที่จะเปิดตัวในงาน Bangkok Design Week วันที่ 5 กุมภาพันธ์นี้
Craftsman หนึ่งในคาเฟ่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นอย่างมาก ซึ่งวันนี้ Craftsman ได้เปิด Pop-Up Cafe แห่งใหม่ โดยสถานที่ที่เลือกเปิดนั้น ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอาคารที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเราเป็นอย่างมาก สถานที่นั้นคือ โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ โรงพิมพ์แห่งแรกของไทยซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่ตัวอาคารด้านนอกที่บ่งบอกได้ถึงความวิจิตรของการออกแบบและการก่อสร้าง จนกระทั่งเปิดประตูร้านเข้าไปที่จะได้เจอกับความสวยงามของการออกแบบ ที่ร้านยังคงเก็บรักษา Detail ส่วนใหญ่ของโครงสร้างภายในไว้ มีความ Classic เป็นอย่างมาก นี่จึงถือเป็นร้านของ Craftsman ที่สวยงามมาก ๆ ยิ่งถ้าใครเป็นผู้ที่คลั่งไคล้ประวัติศาสตร์ด้วยแล้วนั้นไม่ควรพลาดที่จะมาเลย
โรงพิมพ์ของสยามประเทศ
อาคารหลังนี้เดิมชื่อโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ผู้ก่อตั้งคือ หลวงดำรงธรรมสาร (มี ธรรมาชีวะ) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2438 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ถือได้ว่าเป็นโรงพิมพ์ที่ดำเนินกิจการการนานที่สุดของไทย นอกจากนี้ยังเป็นโรงพิมพ์ที่ใหญ่และทันสมัยมาก เพราะมีเครื่องพิมพ์ระบบน้ำมัน มีจำนวนคนงานถึง 70 – 80 คน ทำหน้าที่แตกต่างกันไป เช่น ช่างหล่อตัวพิมพ์ ช่างแท่น ช่างเรียง ช่างพับ ฯลฯ นอกจากโรงพิมพ์แล้วก็ยังมีร้านขายหนังสือ ห้องสมุด และสำนักงานติดต่อลูกค้าตั้งอยู่ที่ตึกแถวสองชั้น ริมถนนบำรุงเมืองด้านหน้าโรงพิมพ์
โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจรับพิมพ์หนังสือต่าง ๆ เช่น หนังสือแบบเรียน หนังสือธรรมะ รวมทั้งหนังสือทางราชการ อย่างเช่น หนังสือราชกิจจานุเบกษา ซึ่งโรงพิมพ์แห่งนี้ได้รับผิดชอบการพิมพ์เผยแพร่อยู่หลายปี ก่อนยุติลงใน พ.ศ 2504 เมื่อรัฐบาลได้จัดตั้งสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษาขึ้นเอง
ชั้นล่างเป็นโรงพิมพ์ มีแท่นพิมพ์หนังสือ เครื่องจักรและอุปกรณ์การพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนชั้นบนจะเป็นที่อาศัยของคนงาน หลวงดำรงธรรมสารถึงแก่กรรมในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2460 ต่อมาหลวงศรีบัญชา (ทวน ธรรมาชีวะ – ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีบัญชา) บุตรชาย ได้เข้ามาบริหารกิจการโรงพิมพ์สืบต่อจากบิดา
ในช่วงที่ท่านบริหารโรงพิมพ์นั้น ได้มีการสร้างอาคารโรงพิมพ์ขึ้นเป็นอาคารที่สองในพื้นที่ ต่อมาในช่วงต้นรัชกาลที่ 9 ราว พ.ศ. 2494 ได้เกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ครั้งใหญ่บริเวณเสาชิงช้า และลุกลามมายังพื้นที่โรงพิมพ์ด้วย ส่งผลให้ตึกโรงพิมพ์หลังที่สองและอาคารบางส่วนสูญสิ้นไปในเหตุการณ์ครั้งนั้น รวมทั้งแท่นพิมพ์รุ่นแรกและตัวพิมพ์ตะกั่วเป็นจำนวนมาก แต่อาคารนี้ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด
หลังเหตุการณ์เพลิงไหม้ ผู้รับช่วงดูแลกิจการโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจก็คือ นายทุน ธรรมาชีวะ บุตรชายคนโต ท่านได้ปรับปรุงกิจการโรงพิมพ์ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น มีแท่นพิมพ์และเครื่องจักรสมัยใหม่หลายเครื่อง และได้ก่อสร้างอาคารโรงพิมพ์หลังใหม่ด้วยอะลูมิเนียมเพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้
ปัจจุบันโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจได้ย้ายออกจากที่ตั้งดั้งเดิมและเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพิมพ์ธรรมสาร เพื่อเป็นเกียรติแด่หลวงดำรงธรรมสาร ผู้บุกเบิกและก่อตั้งโรงพิมพ์เป็นคนแรก
เมื่อโรงพิมพ์เป็นคาเฟ่
อาคารโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจมีพื้นที่ทั้งสิ้น 600 ตารางเมตร แบ่งเป็นชั้นบนและชั้นล่างอย่างละ 300 ตารางเมตรเท่ากัน เป็น 2 ส่วน คือ คาเฟ่จะมีพื้นที่ประมาณ 100 ตารางเมตร ส่วนอีก 200 ตารางเมตรที่เหลือ เราจัดสรรเป็น Exhibition Space สำหรับแสดงงานต่าง ๆ หรือพื้นที่จัดกิจกรรมทางศิลปะ ปัจจุบันพื้นที่และอาคารโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจอยู่ในความดูแลของบริษัท รัจนาการ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ซึ่งมีแผนการที่จะเข้ามาพัฒนาพื้นที่อย่างเต็มรูปแบบในช่วงปลาย พ.ศ. 2565 ระหว่างนี้จึงเปิดพื้นที่ให้ Craftsman Roastery เข้ามาเช่าและเปิดบริการเป็นร้านกาแฟ