ข้อกำหนดในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นสำหรับบรรจุภัณฑ์

ข้อกำหนดในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นสำหรับบรรจุภัณฑ์
Product Category Rules for Packaging

ดร.ชานนท์ วินิจชีวิต จากระบบ smartgreeny.com

ในช่วงปี 2564-2566 ที่ผ่านมา ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ของไทยเติบโตค่อนข้างดี เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้บริโภคส่วนใหญ่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นส่วนตัว อาทิ ทำงานที่บ้าน ทานอาหารที่บ้าน ซื้อของออนไลน์ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ มากขึ้น โดยในปี 2565 ตลาดบรรจุภัณฑ์ไทยขยายตัวได้กว่า 10.5% คิดเป็นมูลค่ากว่า 6.44 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการขยายตัวที่มาจากบรรจุภัณฑ์โลหะ 11.5% บรรจุภัณฑ์พลาสติก 11.3% และบรรจุภัณฑ์กระดาษ 8.7% ตามลำดับ

จากข้อมูล ของธนาคารทหารไทย ที่ปรากฏขึ้น เป็นการแสดงถึงแนวโน้มการเติบของตลาดในกลุ่มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ทั้งในรูปแบบกระดาษและพลาสติก ฉะนั้นในภาคผู้ประการด้านโรงพิมพ์บรรจุภัณฑ์ ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งกลยุทธ์หนึ่งที่หลายองค์กร มองว่าเป็นสิ่งที่จะสร้างแรงจูงใจ และตอบโจทย์ต่อสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี คือ การผลิตบรรจุภัณฑ์ที่สามารถตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นได้ ซึ่งนั้นก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถบงบอกถึงค่าตัวเลขคาร์บอนฟุตพริ้นออกมาได้

คาร์บอนฟุตพริ้นของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint for Packing) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต/การประกอบชิ้นงาน การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน รวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้อง โดยคำนวณออกมาในรูปของ กรัม, กิโลกรัม หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยที่การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้น มีด้วยครับ 2 รูปแบบ คือ ธุรกิจกับธุรกิจ Business to Business (B2B) และ ธุรกิจกับผู้บริโภค business to consumer (B2C) ซึ่งวิธีการและขั้นตอนการคำนวณภายใต้รูปแบบการคำนวณของ ข้อกำหนดเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ (Product Category Rules: PCRs) โดยอ้างอิง องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกองค์การมหาชน

โดยใช้หลักการของแผนวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ประเภทบรรจุภัณฑ์ ที่ต้องประกอบด้วยขั้นตอนและกระบวนการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับขอบเขตการประเมินที่กำหนด รูปที่ 1 - รูปที่ 4 ภายใต้ขอบเขตการประเมินระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business: B2B) และแบบระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (Business-to-Consumer: B2C)

โดยหลังจากเลือกแผนวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ต้องการคำนวณจำเป็นต้อง เก็บข้อมูลปฐมภูมิ เช่น ข้อมูลปริมาณวัตถุดิบ การใช้ไฟฟ้า และข้อมูลทุติยภูมิ เช่น ค่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (E.F) โดยทั่วไป เช่น น้ำ ไฟฟ้า เชื้อเพลิง ของเสียให้ยึดตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นของผลิตภัณฑ์ และข้อมูลที่เผยแพร่โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ทั้งต้นทางจนถึงปลายทาง ซึ่งผลลัพธ์ของการคำนวณ ก็คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ออกมาจากผลิตภัณฑ์ประเภทบรรจุภัณฑ์ของเรา ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เพื่อผู้ประกอบการจะได้นำค่านั้นไปนำส่งต่อให้ผู้ผลิตในขั้นตอนต่อไป หรือ เอาไปแสดงเพื่อให้ผู้บริโภคปลายทางได้รับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกต่อไป