CYBER PTE Open House เนื่องในโอกาสครบรอบ 52 ปี

CYBER PTE Open House เนื่องในโอกาสครบรอบ 52 ปี

ระหว่างวันที่ 28 – 29 กุมภาพันธ์ 2567ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

คณะสมาคมการพิมพ์ไทย พร้อมคณะลูกค้าจากโรงพิมพ์ประเทศไทย จำนวน 14 โรงพิมพ์ รวม 21 คน เดินทางไปร่วมงานฉลองครบรอบ CYBER PTE 52 ปี และจัด Open House แสดงนวัตกรรมทางการพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Biggest Printing Innovation Show in Southeast Asia) ถือว่าเป็นบริษัทเดียวที่เป็นที่ปรึกษาในการลงทุนทั้งเครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณ์ ทางการพิมพ์โดยเฉพาะมาอย่างยาวนาน และยังเปิดบริษัท CYBER ในหลาย ๆ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึง ออสเตรีย และนิวซีแลนด์

โดยในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 คณะได้เดินทางถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในช่วงเช้าและได้แวะถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก ณ ตึกแฝด Petronas Twin Tower

จากนั้นทางคณะเข้าไปร่วมเยี่ยมชม CYBER PTE Showroom ที่ได้จัดแสดงเครื่องจักรทางการพิมพ์พร้อมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามาตอบโจทย์ในเรื่องของการลดต้นทุนในการผลิต การเพิ่มมูลค่าในสิ่งพิมพ์ และที่สำคัญคือการเทคโนโลยีที่ช่วยลด Carbon ในกระบวนการผลิต โดยได้แบ่งส่วนการแสดงเครื่องจักรเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนของเครื่องพิมพ์ ส่วนเครื่องจักรหลังพิมพ์สำหรับงานหนังสือ ส่วนเครื่องจักรหลังพิมพ์สำหรับงานบรรจุภัณฑ์ และส่วนของ Partner ทางธุรกิจดังนี้

ส่วนที่ 1 ส่วนแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ยี่ห้อ RMGT (RYOBI MHI GRAPHIC TECHNOLOGY) จากประเทศญี่ปุ่น

1. เครื่องพิมพ์ RMGT 920PF – 8 + LED UV สามารถพิมพ์ได้ทั้ง8/0 และ 4/4

2. ระบบกล้อง RMGT PQS – D (I+C+R) ที่ติดตั้งบนเครื่องพิมพ์ RMGT โดยสามารถตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ทุกใบพิมพ์ (Inspection) สามารถตรวจสอบค่าความเข้มของหมึกพิมพ์ Density พร้อมระบบ Feedback กลับแบบอัตโนมัติ (Color Control) และสามารถควบคุมฉาก (Register control) ได้ทุกใบพิมพ์ ซึ่งจะช่วยลดของเสียในการตั้งเครื่องก่อนพิมพ์ และยังสามารถควบคุม Balance ของสีงานพิมพ์ให้เท่ากันทุกใบพิมพ์

3. เครื่องพิมพ์ RYOBI 920PF – 8 + LED UV (TWIN Model) นวัตกรรมที่นำเครื่องพิมพ์ทั้ง 2 เครื่องมาวางคู่กันและเชื่อมต่อ Platform เข้าหากัน ทำให้ความสามารถในการผลิตมีค่าเทียบเท่ากับ เครื่องพิมพ์ 4 สี 6 เครื่อง และใช้จำนวนช่างพิมพ์เพียงแค่ 3 คน ซึ่งทำให้ประหยัดค่าแรงงานได้มาก เมื่อเทียบกับจำนวนช่างพิมพ์สำหรับเครื่องพิมพ์ 6 เครื่อง

ส่วนที่ 2 ส่วนแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องจักรหลังพิมพ์สำหรับงานผลิตหนังสือยี่ห้อ Horizon จากประเทศญี่ปุ่น ดังนี้

4. เครื่องไสสันทากาวแบบ Fully Automation ของ Horizon รุ่น BQ500 (4 หัวจับ) ถือเป็นเครื่องไสสันทากาวที่ทันสมัยที่สุดของโลก ณ เวลานี้ ที่สามารถรองรับงานได้ทั้งงาน Offset และ Digital สามารถไสกาวแบบเล่มต่อเล่ม ช่วยลดของเสีย ลดการเกิด Carbon ในกระบวนการผลิต

5. ROBOMATIC with Perfect Binder system เครื่องไสสันทากาว Horizon รุ่น BQ270V (1 หัวจับ) ที่เชื่อมต่อกับการป้อนเนื้อในโดยใช้แขนกลในการช่วยป้อนแบบอัตโนมัติ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ของงานนี้

6. เครื่องโรตารี่ไดคัท Horizon รุ่น RD-N4055 ซึ่งเป็นเครื่องโรตารี่ไดคัทที่ออกแบบภายใต้ Concept “Super Easy Operation” เพราะใช้ระบบ One UI (User Interface) แบบหน้าตาเหมือนกันกับเครื่องอื่น ๆ ของทาง Horizon และตัวเครื่องมีกำลังผลิตที่รวดเร็ว แม่นยำ เหมาะกับทุกโรงพิมพ์

7. เครื่องพับอัจฉริยะที่มาพร้อมกับระบบ Fully Automation ของ Horizon รุ่น 406 + T406 หมายความความว่า เป็นเครื่องพับที่มาพร้อมกับ 6 ตะแกรงในหน่วยพับแรก และมีเพิ่มอีก 6 ตะแกรงในหน่วยพับที่ 2 สามารถตั้งค่า เปิด / ปิด การเลือกใช้ตะแกรงได้จากหน้าจอสัมผัส ที่มาพร้อมกับรูปแบบการพับที่หลากหลาย เพียงแค่เลือกจากหน้าจอ อีกหนึ่งจุดเด่นคือการใช้กระดาษที่จะพับเพียงแค่ 1 ใบ ก็สามารถตั้งค่าระยะเปิดตะแกรงได้อย่างง่ายดาย

8. เครื่องตัดกระดาษยี่ห้อ NAGAI จากประเทศญี่ปุ่น ที่มาพร้อมกับระบบ Fully system ที่ช่วยดูแลสุขภาพ และเพิ่มความเร็วในการตัดของช่างตัด ประกอบไปด้วย เครื่องยก Lifter เครื่องกระทุ้ง Jogger เครื่องตัด Cutter และเครื่องย้ายงานลงพาเลท Paper Unloader

ส่วนที่ 3 ส่วนแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องจักรหลังพิมพ์สำหรับงานผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ยี่ห้อ SBL จากประเทศไต้หวัน ดังนี้

เครื่องไดคัทอัตโนมัติยี่ห้อ SBL รุ่น 1050SE ที่มีศักยภาพในการผลิตสูง และทนทานเป็นอย่างมากเพราะตัวเฟรมเครื่องผ่านกระบวนการหล่อเหล็กแบบ Meehanite ซึ่งถือเป็นที่สุดของการหล่อเหล็กที่เป็นที่ยอมรับและได้มาตรฐาน อีกทั้งตัวเครื่องยังได้ถูกออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน และได้สาธิตการทำงานให้ดูอย่างใกล้ชิด

ส่วนที่ 4 ส่วนของ Partner ทางธุรกิจ

นำโดยบริษัท FUJIFILM BUSINESS INNOVATION ที่ได้นำเครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอลรุ่นใหม่ล่าสุด มาจัดแสดงถึง 2 เครื่อง ได้แก่ Revoria PC1120 และ Revoria EC1100 โดยในเครื่องรุ่น Revoria PC1120 ที่สามารถพิมพ์ได้ถึง 10 สี ได้แก่ สีทอง สีเงิน สีขาว สีชมพู สีใส และ ทำพื้นผิว ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าสิ่งพิมพ์ได้อย่างโดดเด่น ช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับโรงพิมพ์

จากนั้นในช่วงค่ำทางบริษัท CYBER PTE ได้จัดงานเลี้ยงเพื่อเป็นการต้อนรับคณะที่ ณ ห้อง Ballroom โรงแรม Sheraton โดยมีแขกเข้าร่วมงานกว่า 500 คน พร้อมกิจกรรมมากมาย และมีกิจกรรมเปิดงานกาล่าดินเนอร์ ที่ทางบริษัท ได้รับเกียรติให้ร่วมทำอาหารพื้นเมือง เป็นการเปิดงานร่วมกับคุณพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช นายกสมาคมการพิมพ์ไทย และแขกผู้มีเกียรติท่านอื่น ๆ จากหลายประเทศที่เดินทางมาร่วมงานครบรอบ 52 ปีของ CYBER PTE ในครั้งนี้

CYBER SM ขอขอบคุณสำหรับความไว้วางใจและความร่วมมือของทุกท่านและขออภัยในกรณีที่มีความผิดพลาดประการใดที่เกิดขึ้น และโดยทางบริษัทจะพยายามทำให้งานของเรามีความดีที่สุดเพื่อให้บริการคุณอย่างเต็มที่ในอนาคต