HOW TO NEUTRAL PRINTING PRODUCT?

HOW TO NEUTRAL PRINTING PRODUCT?

ทำอย่างไรให้การพิมพ์ของเราเป็นกลางทางคาร์บอน?

ดร.ชานนท์ วินิจชีวิตจากระบบ smartgreeny.com

ก่อนที่เราจำทำความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ ที่เราเรียกกันติดปากว่า Carbon Neutral นั้นเราต้องรู้จักขั้นตอน และตัวละครที่จำเป็นในกิจกรรมเสียก่อน เพื่อให้เราทำความเป็นกลางทางคาร์บอนได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานที่มีอยู่

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจคำว่า 6 คำนี้ก่อน คือ ซึ่งเป็นขั้นตอน และตัวละครที่สำคัญในการได้มาซึ่งความเป็นการคาร์บอน

  1. ที่ปรึกษาโครงการ
  2. ผู้ทวนสอบโครงการ
  3. คาร์บอนฟุตพริ้นสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งพิมพ์
  4. คาร์บอนเครดิต การซื้อคาร์บอน
  5. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า อบก.
  6. ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)

1. ที่ปรึกษาโครงการ

เนื่องการการคำนวณการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นสำหรับผลิตภัณฑ์มีความซับซ้อนและมีรายละเอียดขั้นตอนที่ค่อนข้างยาก ถ้าโรงงานยังไม่คุ้นเคยในการคำนวณหรือยังไม่มีประสบการณ์มากนัก ในหาที่ปรึกษาโครงการนี้ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นผลิตภัณฑ์สิ่งพิมพ์ ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นในการช่วยเหลือเราในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นการจัดทำรายงานเพื่อนำทวนสอบให้ผู้ทวนสอบที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อบก. สามารถค้นหารายชื่อที่ปรึกษาได้จากเว็บ https://thaicarbonlabel.tgo.or.th

2. ผู้ทวนสอบโครงการ

ผู้ทวนสอบโครงการ ถือเป็นบุคคล/หน่วยงาน ที่มีความจำเป็นในเชิงการตรวจสอบ และการออกเอกสารการยืนยันผลการทำการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นจากที่ปรึกษาโครงการ เพื่อนำส่งให้ อบก. ต่อไป โดยสามารถค้นหาบุคคล/หน่วยงาน ได้จากเว็บ https://thaicarbonlabel.tgo.or.th

3. คาร์บอนฟุตพริ้นสำหรับผลิตภัณฑ์สิ่งพิมพ์

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Product Carbon Footprint) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการตลอดวัฎจักรชีวิต ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การจัดจำหน่าย การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังจากการใช้งาน วัดปริมาณออกมาในรูปแบบของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

4. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.

เป็นองค์การที่อยู่ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักในการวิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเกี่ยวกับการให้คำรับรองโครงการที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด รวมทั้ง ติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับคำรับรอง ส่งเสริมการพัฒนาโครงการ และการตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง เป็นศูนย์กลางข้อมูลที่เกี่ยวกับสถานการณ์ดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับคำรับรอง และการขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ตลอดจนให้คำแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

5. คาร์บอนเครดิต การซื้อคาร์บอน

คาร์บอนเครดิต เป็นสิทธิในการปล่อยคาร์บอนซึ่งได้รับการรับรองว่ามีการดำเนินกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนได้เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนด สำหรับในประเทศไทย จะเป็นปริมาณเทียบเท่าของการลดหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจก ที่ได้รับการรองรับจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ การซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อ “ชดเชย” ในตลาดคาร์บอนในประเทศไทยยังเป็นภาคสมัครใจและมีขนาดเล็กอยู่ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่่ http://carbonmarket.tgo.or.th/

6. Carbon Neutrality หรือการ ความเป็นกลางทางคาร์บอน

Carbon neutrality หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน คือ การที่ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมาผ่านป่าหรือวิธีการอื่น

การบรรลุเป้าหมาย carbon neutrality นั้นอาจเป็นเป้าหมายระดับบุคคล องค์กร หรือประเทศ สามารถทำได้โดยการ “ลด” และ “ชดเชย” (lower & offset) การปล่อยคาร์บอนจนเป็นกลาง ซึ่งมาตรการ “ลด” การปล่อยคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ การลดหรือละกิจกรรมบางอย่างที่ไม่จำเป็น เช่น การขนส่ง การสูญเสียในการผลิต การใช้เทคโนโลยีการผลิตและการจัดการของเสียที่สะอาดขึ้น หรือการใช้พลังงานสะอาด เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ พลังงานลม เป็นต้น และหากยังมีการปล่อยคาร์บอนอยู่ ก็ “ชดเชย” หรือ offset คาร์บอนที่ยังปล่อยอยู่ผ่านกิจกรรมที่ไปลดคาร์บอนที่อื่น เช่น การปลูกป่า การลงทุนในพลังงานหมุนเวียน หรือการซื้อคาร์บอนเครดิต เป็นต้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า