การฝึกอบรม “มาตรฐานทางการพิมพ์”
วันที่ 9 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.30-16.00 น.
ณ RMUTT Innovation & Knowledge Centre (ชั้น 7) ศูนย์การค้า DD Mall (บางซื่อ จังชั่น) ถนนกำแพงเพชร
การฝึกอบรมหัวข้อ “มาตรฐานทางการพิมพ์” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2566 ระหว่างเวลา 09.30-16.00 น. ณ RMUTT Innovation & Knowledge Centre (ชั้น 7) ศูนย์การค้า DD Mall (บางซื่อ จังชั่น) ถนนกำแพงเพชร
โดยจัดการอบรมได้แบ่งเป็นช่วงเช้าและช่วงบ่าย ในช่วงเช้าเป็นการบรรยายโดยคุณศรชัย หลักชัย เจ้าของเพจโรงพิมพ์ไทย 5G ซึ่งมีเนื้อหาตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
- มาตรฐานทางการพิมพ์ G7
- ISO 12647 เทคโนโลยีการพิมพ์ : การควบคุมกระบวนการการผลิตในงานแยกสีฮาล์ฟโทน การปรู๊ฟ และพิมพ์
- ISO 15339 เทคโนโลยีการพิมพ์ : การพิมพ์จากข้อมูลดิจิทัลด้วยระบบการพิมพ์ต่าง ๆ (ISO 15339 = G7 G = Gray 7 = CMYK + RGB
- ข้อกำหนดหลักของ ISO 12647 และ ISO 15339 แบ่งเป็น 1. ค่าความขาวกระดาษ 2. ค่าสีพื้นตายหมึก CMYK RGB 3. วิธีเทียบมาตรฐาน (Calibration)
ในช่วงบ่ายเป็นการบรรยายในหัวข้อ “การพิมพ์ออฟเซตตามมาตรฐาน ISO 12647-2” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์อนันต์ ตันวิไลศิริ – สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิทัลและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (RMUTT) ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- การปรับตัวของอุตสาหกรรมการพิมพ์ในปัจจุบัน ไม่ใช่วิธีการแข่งขันด้วยราคา มีจุดเด่นในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สิ่งพิมพ์ กระบวนการผลิตแต่ละขั้นตอนสามารถตรวจสอบได้ ทำงานเป็นเครือข่ายกับร้านทำแม่พิมพ์และบริษัทออกแบบ การรับส่งไฟล์ข้อมูลและปรู๊ฟเป็นดิจิทัล เข้าใจระบบการจัดการสี ได้รับการรับรองมาตรฐาน หรือเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าทั้งภายในและนอกประเทศ
- มาตรฐานการพิมพ์คืออะไร? การควบคุมขั้นตอนกระบวนการผลิตงานพิมพ์ การเตรียมไฟล์ข้อมูลต้นฉบับ การเปลี่ยนโหมดสี ข้อกำหนดในการแยกสี และทำแม่พิมพ์ ข้อกำหนดในการพิมพ์ การตั้งเครื่องพิมพ์ ความสามารถในการทำนายผลคุณภาพงานพิมพ์ การควบคุมรักษาความสม่ำเสมอของคุณภาพงานพิมพ์ การจัดการการใช้วัสดุพิมพ์อย่างมีประสิทธิภาพ
- ประเภทของมาตรฐาน แบ่งได้ดังนี้
• มาตรฐานที่ผู้ประกอบธุรกิจกำหนดเอง (In-house Standards)
• มาตรฐานระดับชาติกำหนดโดยองค์กรกลุ่มสมาคม หรือกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ ในประเทศนั้น ๆ (National Standards)
• มาตรฐานระดับสากล (International Standards) กำหนดโดยองค์กรหรือหน่วยงานสากลที่มีผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ร่วมกันพิจารณา ได้แก่ ISO