โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ของไทยในส่วนภูมิภาคสู่ตลาดโลก (ภาคเหนือ)
วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องนิมมาน 1 (ชั้น 5) นิมมานคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมยู นิมมาน
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ร่วมกับสมาคมการพิมพ์ไทย จัด “โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ของไทยในส่วนภูมิภาคสู่ตลาดโลก (ภาคเหนือ)” วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องนิมมาน 1 (ชั้น 5) นิมมานคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โรงแรมยู นิมมาน
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ของไทยในส่วนภูมิภาคจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 เป็นเสมือนเวทีให้ความรู้และสร้างโอกาสให้เกิดการเจรจาการค้าด้านสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ และเครื่องหมายการค้า และด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการทั้ง OTOP/SME และผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ได้มาสร้างศักยภาพรวมถึงได้สร้างเครือข่ายทางธุรกิจ
โดยในช่วงเช้าได้จัดให้มีการบรรยายจากท่านวิทยากรที่มีประสบการณ์ความรู้ความสามารถ อาจารย์มยุรีย์ ภาคลำเจียก ผู้เชี่ยวชาญบรรจุภัณฑ์, ที่ปรึกษาสมาคมการพิมพ์ไทย บรรยายในหัวข้อ “บรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บและเพื่อความยั่งยืน” โดยได้พูดถึง
- ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ หรือ Packaging
- บทบาทหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ต่อธุรกิจสมัยใหม่
- ประเภทและวัสดุบรรจุภัณฑ์
- บรรจุภัณฑ์ขายปลีก แยกเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติก และบรรจุภัณฑ์กระดาษ
- พลาสติกที่นิยมใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์
- บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (Flexible Packaging)
- คุณสมบัติและลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์อาหาร
- คุณสมบัติและลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
- สินค้าเซรามิค สิ่งประดิษฐ์ จักสาน และผลิตภัณฑ์ผ้า
และคุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมการพิมพ์ไทย บรรยายในหัวข้อ “โน้มในเชิงตลาดที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม” โดยมีเนื้อหาดังนี้
- เทรนด์ความยั่งยืน (Sustainbility) เทรนด์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดถึง 300% ไม่ใช่เรื่องดิจิทัล ไม่ใช่เรื่อง AI ไม่ใช่เรื่องรักษ์โลก นักการตลาดต้องนำองค์ประกอบความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาด กลยุทธ์ความยั่งยืนแซงหน้าเรื่องต้นทุนสินค้าและบริการ ความยั่งยืนไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอด ไม่ใช่จิตอาสา แต่เป็นโอกาส
- อาหารและเครื่องดื่มเกือบ 300% ความต้องการของลูกค้าสำหรับผลิตภัณฑ์และข้อเสนอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ทางเลือกบรรจุภัณฑ์ ผู้บริโภค 60-70% ยอมจ่ายเงินมากขึ้นสำหรับแบรนด์ที่ใช้ทางเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน
- เปลี่ยนผ่านจากธุรกิจแบบเส้นตรงสู่วงกลม
- การตลาด 5.0 (ใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าใจมนุษย์และพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น) และความยั่งยืน 5.0 (ความสุขของมวลมนุษยชาติเป็นศูนย์กลาง)
- นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน นำนวัตกรรมต่าง ๆ มาประกอบสร้างเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน นำไปสู่ “ความยั่งยืน หรือความอยู่รอด”
- นวัตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรม สร้างนวัตกรรมจากภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์, ใช้นวัตกรรมที่อยู่แล้วเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์, บรรจุภัณฑ์ฉลาด (Smart Packaging) รวมถึงการใช้วัสดุโครงสร้างบรรจุภัณฑ์
- พฤติกรรมของผู้บริโภคกับความคาดหวังต่อธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงยุคหลังโควิด
- บรรจุภัณฑ์และฟิล์มที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การพิมพ์ดิจิทัลลดขั้นตอนการผลิต ลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
- Edible Packaging บรรจุภัณฑ์ที่บริโภคได้
ในช่วงบ่ายมีการให้คำปรึกษา ถามตอบระหว่างท่านวิทยากรและผู้ประกอบการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ รวมถึงชมผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาเป็นที่เรึยบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กับ ผู้ประกอบการ OTOP /SMEs