ความต้องการหลักสูตรการสอนด้านการพิมพ์ในยุค Industry 5.0
วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เวลา 12.00-16.30 น.
ณ ห้อง R401 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ
มูลนิธิเงินทุนแสดงการพิมพ์แห่งประเทศไทย และมูลนิธิศาสตราจารย์กำธร สถิรกุล จัดงานบรรยายพิเศษและเสวนา ในหัวข้อ “ความต้องการหลักสูตรการสอนด้านการพิมพ์ในยุค Industry 5.0” โดยได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ระหว่างเวลา 12.00-16.30 น. ณ ห้อง R401 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ
กิจกรรมดังกล่าว เริ่มต้นด้วยการบรรยายพิเศษ จากรองศาสตราจารย์ ดร.อรัญ หาญสืบสาย – ประธานมูลนิธิเงินทุนแสดงการพิมพ์แห่งประเทศไทย ในเรื่อง “ทิศทางและแนวโน้มของเทคโนโลยีการพิมพ์สมัยใหม่” โดยได้กล่าวถึงความหมายของอุตสาหกรรม 5.0 ที่มีการนำ AI มาใช้งานเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิต รวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อตลาดการพิมพ์ เช่น การเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวของเมือง และชนชั้นระดับกลาง การเปลี่ยนแปลงวิถีการบริโภค การเข้าสู่สังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน เทคโนโลยีการพิมพ์มีการพัฒนา รวมไปถึงยุคทองของการพิมพ์ ในช่วงปี 1980-1990
ลำดับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์กับอุตสาหกรรมการพิมพ์โลก
- ปี 2008 ที่มีการนำซอฟแวร์ Workflow เข้ามาช่วยให้การทำงานพร้อมกันของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต
- ปี 2012 ธุรกิจการพิมพ์จากเดิม Graphic Communication ขยายตัวไปสนับสนุนอุตสาหกรรมอื่น ๆ มากขึ้น
- ปี 2016 ระบบพิมพ์ดิจิทัลเชิงวิศวกรรม (Innovative digital printing system) นำมาแทนที่กระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม
ซึ่งอาจารย์อรัญได้ทิ้งท้ายก่อนปิดการบรรยายพิเศษโดยได้เสนอแนวคิดในการทำธุรกิจให้สำเร็จ คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล, นวัตกรรมทางธุรกิจ สู่ธุรกิจที่ยิ่งยืน
หลังจากนั้น เป็นการเสวนาในหัวข้อ “หลักสูตรการเรียนการสอนด้านการพิมพ์ตอบสนองความต้องการภาคอุตสาหกรรมยุค Industry 5.0” โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ดังนี้ คุณพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช – นายกสมาคมการพิมพ์ไทย, คุณเมธี กาญจน์กระสัง – บริษัท สยามทบพันแพคเกจจิ้ง จำกัด, คุณณัฐวุฒิ อุ้ยนอง – Mondi CFlex Thailand และคุณพัทธพล เปรมตุ่น – บริษัท อาชพสิษฐ์ อินโนแมท จำกัด ร่วมพูดถึงสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการด้านแรงงาน มุมมองของภาคอุตสาหกรรมต่อการจ้างงานและการปรับตัวของแรงงานในอนาคต
ในช่วงท้ายเป็นการมอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ มหาเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช