Carbon footprint for Printing Industry and ways to reduce your carbon footprint in production printing.

Carbon footprint for Printing Industry and ways to reduce your carbon footprint in production printing.

คาร์บอนฟุตพริ้นสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์และแนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในการผลิตสิ่งพิมพ์

โดย ดร. ชานนท์ วินิจชีวิต จากระบบ smartgreeny.com

ตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการตระหนักถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและประเด็นปัญหาภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง (climate change) เป็นประเด็นปัญหาที่ได้รับความสนใจทั่วโลกในปัจจุบัน เนื่องจากปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นมากมายและเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวทุกคน ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศ ปัญหาน้ำเน่าเสีย ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดภัยธรรมชาติต่าง ๆ มากมาย ฉะนั้นจากปัญหาดังกล่าวทุกอุตสาหกรรมต่างต้องหันเข้ามารวมกันแก้ไขปัญหานี้ รวมทั้งในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ด้วย ซึ่ง ณ วันนี้ ถือได้ว่าเป็นอุตหสากรรมที่สำคัญของประเทศและมีการสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่น้อยไปกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ

การตั้งเป้าหมายของการลดถือเป็นสิ่งที่เจ้าของโรงพิมพ์ต่าง ๆ ควรทำเป็นนโยบายหลักของโรงพิมพ์ นอกจากจะเป็นนโยบายที่ยั่งยื่นแล้ว ยังสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่กำลังมองหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งมีแนวโน้มสูงมากขึ้น พร้อมกับวิธีนี้ยังเป็นการสร้างความแตกต่างเพื่อประโยชน์ในเชิงการแข่งขันได้อีกด้วย

วิธีการเริ่มต้นที่อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ต้องเริ่มทำก่อน คือ การรับรู้ว่าในปัจจุบันโรงพิมพ์ของเรา มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกไปในปริมาณที่จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการให้บริการของโรงพิมพ์ เช่น การเดินทาง การจัดการของเสีย การใช้สารเคมี การใช้ทรัพยากรในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งระบายออกสู่ชั้นบรรยากาศในช่วงเวลานั้น ๆ โดยวิเคราะห์ส่วนต่าง ๆ เช่น ระบบการผลิตของคุณ กระดาษที่คุณใช้ การใช้พลังงาน ระยะทางในการจัดส่งวัสดุสิ้นเปลือง การกำจัดของเสียต่าง ๆ การใช้ไฟฟ้า และแม้แต่การเดินทางของพนักงานของโรงพิมพ์ ก็ควรต้องนำมาคำนวณด้วย ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยใช้การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นสำหรับองค์กร (Carbon Footprint for Organization : CFO) ซึ่งเป็นหลักการตาม ISO14064-1 โดยแบ่งเป็น 3 สโคป ดังนี้

สโคปที่ 1 : การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรง (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร การใช้พาหนะขององค์กร (ที่องค์กรเป็นเจ้าของเอง) การใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล จากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น

สโคปที่ 2 : การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) ได้แก่ การซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน พลังงานไอน้ำ เป็นต้น

สโคปที่ 3 : การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมด้านอื่น ๆ การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การเดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น โดยทั้ง 3 สโคปนั้น จะเน้นที่ ก๊าซเรือนกระจกจำนวน 7 ชนิด
• คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
• มีเทน (CH4)
• ไนตรัสออกไซด์ (N2O)
• ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs)
• เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs)
• ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (HF6)
• ไนโตรเจนไตรฟลูอไรด์ (NF3)

โดยหลังจากที่เราคำนวณและทราบค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของเราแล้วทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งต่อไปที่เราควรทำคือ มองหาวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในการผลิตงานโดยใช้สื่อรีไซเคิลประเภทต่าง ๆ การลดการใช้พลังงานและลดของเสียจากการพิมพ์ในกระบวนการผลิตปกติ การตรวจสอบกระบวนการแต่ละกระบวนการเพื่อให้แน่ใจว่าคุณลดการปล่อยคาร์บอนให้น้อยที่สุดอย่างต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งว่า การออกนโยบายการจัดซื้อสีเขียว (Green Procurement) เพื่อไว้คัดสรรค์ผู้ผลิตที่จัดจำหน่ายสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและคาร์บอนต่ำ เพื่อให้ผลรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโรงพิมพ์ของเรามีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง


เครดิตภาพประกอบ https://petromat.org/