อนาคตของ ไซเบอร์ เอสเอ็ม (ไทย) ที่ไม่ใช่แค่การ “ปรับ” และ “เปลี่ยน”

อนาคตของ ไซเบอร์ เอสเอ็ม (ไทย) ที่ไม่ใช่แค่การ “ปรับ” และ “เปลี่ยน”

แต่คือการนําเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีสําหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยแบบครบวงจร

บริษัท ไซเบอร์ เอสเอ็ม (ไทย) จํากัด ผู้นําเข้านวัตกรรมและเทคโนโลยี สําหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยแบบครบวงจร เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

บริษัท ไซเบอร์ เอสเอ็ม (ไทย) จํากัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 เกิดจากการรวมกันของ บริษัท CYBER GRAPHIC (2000) และ บริษัท SM GRAPHIC CENTER ซึ่งต่างก็เป็นผู้แทนจําหน่ายที่มีประสบการณ์ในวงการอุตสาหกรรมการพิมพ์มาอย่างยาวนาน โดยในขณะนี้ เครือบริษัท CYBER เป็นตัวแทนจําหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์ทางการพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยมีสาขาครอบคลุมทั้งไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และประเทศอื่น ๆ ทั่วเอเชีย รวมถึง ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

นอกจากนี้เครือบริษัท CYBER ยังมี Showroom และ Academy ทางด้านการพิมพ์เป็นของตัวเองถึง 4 แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย) ซีนาย (มาเลเซีย) และกรุงเทพมหานคร เพื่อจัดแสดงสินค้า สนับสนุนลูกค้าในการทดลองงานพิมพ์ การบริการหลังการขายและการฝึกอบรมพนักงาน

ปัจจุบัน ไซเบอร์ เอสเอ็มนับว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ทั้งการปรับรูปแบบการบริหาร รวมไปถึงการปรับตัวให้ เข้ากับยุคดิจิตอลดิสรัปชั่น วารสาร Thai Print ฉบับนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณเอกลักษณ์ เกล็ดเครือมาศ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไซเบอร์ เอสเอ็ม (ไทย) จํากัด ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาข้างต้น

ลูกค้าเปลี่ยน เราจึงเปลี่ยน

ในช่วง 2 -3 ปีที่ผ่านมา นับว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นอย่างมาก ทั้งในเชิงของปริมาณการผลิตและรูปแบบกระบวนการทํางาน มีการปรับแนวทางให้เข้ากับตลาดยุคปัจจุบัน เมื่อพูดถึงคําว่า Digital disruption สําหรับธุรกิจโดยทั่วไป จะเร่ิมต้นจาก End User และส่งผลกระทบต่อ ๆ กันไป แต่สําหรับ ไซเบอร์ เอสเอ็ม ซึ่งดําเนินธุรกิจแบบ B2B (Business to Business) การถูก Disrupt จึงแตกต่าง นํามาซึ่ง Concept ที่ว่า “ลูกค้าเปลี่ยน เราจึงเปลี่ยน” ยกตัวอย่างเช่น จากที่เคยผลิตสิ่งพิมพ์ในปริมาณมาก ก็มีการปรับรูปแบบการผลิตในลักษณะ Print On Demand หรือผลิตเพื่อ Personalized มากขึ้น ทั้งงานหนังสือและบรรจุภัณฑ์

ดังนั้นเมื่อลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการพิมพ์ เราจึงต้องมีการเปลี่ยนวิธีคิด และนําเสนอเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เช่น การคัดเลือกสินค้า (เครื่องจักร) ที่มีระบบ Automation สามารถผลิตงานจํานวนน้อย โดยมีของเสียเป็นศูนย์ (Zero Waste) ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ จะเข้ามาแก้ Pain Pont ของลูกค้าได้

สร้างจุดแข็งและจุดเด่น ด้วย “ประสบการณ์และความพร้อม”

การแข่งขันด้านราคา นับว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางธุรกิจแต่ไม่ใช่หลักปัจจัยสําคัญ เพราะการตัดสินใจซื้อสินค้าในราคาที่ถูกกว่า บางครั้งอาจจะแลกมาด้วยการไม่ได้รับบริการหลังการขายที่ดีเท่าที่ควร การมีช่างที่มีประสบการณ์ ผ่านการฝึกอบรมจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรง รวมไปถึงการเตรียมชิ้นส่วนเครื่องจักรให้มีความพร้อมเพื่อให้บริการหลังการขาย ถือว่าเป็นจุดเด่นของไซเบอร์ เอสเอ็ม นอกจากนี้สินค้าทุกชิ้นที่จําหน่าย ยังได้รับการรับรองมาตฐานสากล จึงสรุปได้ว่า…

จุดเด่นของไซเบอร์ เอสเอ็ม คือ การคัดเลือกและจําหน่ายสินค้าที่ได้มาตรฐาน และการบริการหลังการขายโดยทีมช่างมืออาชีพ

ความเสี่ยงในธุรกิจของไซเบอร์ เอสเอ็ม

หากจะพูดกันโดยทั่วไป การขายสินค้าไม่ได้นับเป็นความเสี่ยงอันดับแรก ๆ ที่ผู้จัดจําหน่ายจะนึกถึง แต่หากเจาะลึกลงไป สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุด สามารถแบ่งเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ ดังนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมและเทคโนโลยีของสินค้าที่มีการพัฒนาใหม่ ๆ อยู่เสมอ
  2. ขีดความสามารถของผู้แทนจําหน่าย การอัพเดทความรู้ความสามารถให้ทันยุคปัจจุบัน
  3. ความยากในการหา Pain Pont ของลูกค้าให้เจอ และนําเสนอเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้

ทั้งหมดนี่ถือว่าเป็นความเสี่ยงในการทําธุรกิจทุกประเภท ไม่เพียงแต่ไซเบอร์ เอสเอ็ม เท่านั้น เนื่องจากเราเป็นผู้แทนจําหน่าย ไม่ได้เป็นผู้ผลิตสินค้าเอง หากเราเข้าถึงลูกค้า-ผู้ผลิตสินค้าล่าช้า หรือปรับตัวไม่ทันเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านั้น ก็จะเป็นการเสียโอกาสทางธุรกิจไป

ทางไซเบอร์ เอสเอ็ม มีแนวทางในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคู่ค้า ทั้งในการปรับปรุงภาพลักษณ์องค์กรให้ดูทันสมัย และเพิ่มการประชาสัมพันธ์บริษัทให้เป็นที่รู้จัก เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น เช่น การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า (Exhibition) ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล หรือการจัดงาน Open House การจัดงานสัมนาเพื่ออัพเดทความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

อนาคตของไซเบอร์ เอสเอ็ม

Business Plan ของไซเบอร์ เอสเอ็ม จะชูโรงคําว่า “Transformation Year 2023-2025” โดยเริ่มตั้งแต่การรวบรวมและนําเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยในการบริหาร ยกตัวอย่างเช่น จากเดิมมีการเก็บข้อมูลในรูปแบบเอ็กเซลล์ในคอมพิวเตอร์ หลังจากนี้จะมีการนําเทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud) เข้ามาเก็บข้อมูลทั้งในส่วนของการขายและการบริการ รวมไปถึงการบัญชี ในส่วนของตัวสินค้าก็ต้องคัดเลือก Brand ที่ดูโดดเด่น เป็นที่รู้จัก มีนวัตกรรม และสร้างผลกําไรได้