G7 ตอนที่ 2

G7 ตอนที่ 2

โดย เพจโรงพิมพ์ไทย 5G

จากฉบับ 132 ได้ทราบแล้วว่า G7 คือวิธีการ(Method) เทียบมาตรฐาน (Calibration) ให้เครื่องมือ (Device) โดยมีข้อกำหนด (Specification) ของสีเทา (Gray ) เป็นหลักสำคัญ

G7 ไม่ใช่การจัดการสี CMS
G7 ไม่ใช่ ICC Profile

ฉบับนี้จะอธิบายวิธี Calibration

G7 กำหนดสีเทา CMY และเทา K ไว้ 3 โทนคือ
HC = Highlight Contrast
HR = Highlight Range
SC = Shadow Contrast

เปอร์เซ็นต์สกรีนที่ใช้

การควบคุมค่าเทาของ HC, HR , SC มี 2 อย่างคือ

1. Tonality โดยวัดค่า Density ของเทา CMY และเทา K เรียกว่าNeutral Print Density(NPD) ให้ได้ตามมาตรฐานเช่น กระดาษอาร์ตมัน
HC CMY = 0.25 K = 0.22
HR CMY = 0.54 K = 0.49
SC CMY = 0.91 K = 0.89

2. Gray balance โดยวัดค่า a* b* CIELAB ของเทา CMY เท่านั้น (ไม่วัดเทา K ) ให้ได้มาตรฐานเช่น กระดาษอาร์ตมัน
ค่า L* = 95 a* = 1.0 b* = -4.0
HC ต้องได้ค่า a* = 0.7 b* = -3.0
HR ต้องได้ค่า a* = 0.5 b* = -2.0
SC ต้องได้ค่า a* = 0.2 b* = -1.0

เทาในอุดมคติของ CIELAB ตามภาพจะอยู่ตรงกลางที่เส้นตัดกัน นั่นคือ a* = 0 b* = 0
G7 ไม่ได้ Calibration ให้ได้ a* = 0 b* = 0

แนวคิดของ G7 คือค่า Gray balance จะต้องเข้ากับค่า L*a*b* กระดาษที่จะใช้พิมพ์
โดยใช้สูตรคำนวณ

C คือ เปอร์เซ็นต์สกรีนฟ้า CYAN

ตัวอย่างเช่นความขาวกระดาษยี่ห้อหนึ่ง
L* = 95 a* = 2.0 b* = -6

คำนวณช่วง HC (C25 M19 Y19)

คำนวณช่วง HR (C50 M40 Y40)

คำนวณช่วง SC (C75 M66 Y66)

หมายความว่าCalibration จะลดเพิ่มเปอร์เซ็นต์สกรีน CMYK ของ HC , HR , SC ให้ได้ค่า Density ของ NPD และ a* b* ของ Gray balance ตามกระดาษพิมพ์

แม้ไฟล์ภาพเดียวกันนำไปใช้พิมพ์คนละระบบเช่น ออฟเซทกับแฟลกโซ ที่ความขาววัสดุพิมพ์ต่างกันยังคงรักษา Gray ของภาพได้เท่ากัน

3. P2P Targets มี 3 แบบ คือ
– G7 Verifies
– P2P25
– P2P51

ปัจจุบันนิยมใช้ P2P51 มี 12 แถว x 25 คอลัมน์ ในการคาลิเบตจะใช้เพียงแถวที่ 4 เทา K + แถวที่ 5 เทา CMY (ลูกศรสีน้ำเงิน) ไล่โทนเทาเป็นระดับโดยมี HC,HR , SC ฝังอยู่ด้วย รวมใช้ 50 ข้อมูลสีเท่านั้น

จะวัดค่าสีออกมาเป็น L*a*b* แล้วคำนวณเป็น
– Weight Delta L* CMY ความสว่างเทาCMY
– Weight Delta Ch* CMY เฉดเทา CMY
– Weight Delta L* K ความสว่างเทา K

ภาพล่างคือการวัดค่าระหว่าง “พิมพ์งาน”

4. เครื่องวัดการ Calibration เช่น
– X-Rite i1iSis, iSis XL (1 & 2)
– X-Rite i1Pro (1 & 2)

5. G7 Software เช่น
– i1Profiler
– Curve4
– efi

ขั้นตอนการทำ G7 Calibration

1. ตรวจสอบสภาพแท่นพิมพ์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่มีปัญหาเรื่อง Doubling
– Slur
– Streak ฯลฯ

2. เลือกมาตรฐานการพิมพ์ เช่น GRACOl-2006, GRACOL-2013 เพื่อให้มีตัวเลขควบคุม Process
L* a* b* ของกระดาษ
L* a* b* หมึก CMYK
ค่า NPD ของเทา CMY + K โทน HC , HR , SC
ค่า Gray balance a* b* โทน HC , HR , SC

หากต้องการใช้ของยุโรป เช่น Fogra จะไม่มีข้อมูล NPD, Gray balance

3. เลือกหมึกพิมพ์ที่ได้ ISO 2846-1 คือ มาตรฐานสีและความโปร่งแสงของหมึกพิมพ์ชุดสำหรับการพิมพ์สี่สี ที่อเมริกาจะเลือกใช้ที่มี ISO นี้ ก็จะช่วยให้การ Calibration ปรับสีได้ค่าที่กำหนดง่ายขึ้น

4. เลือกกระดาษที่ได้ค่าความขาว L* a* b* ใกล้เคียงมาตรฐานการพิมพ์ที่เลือก เช่น
GRACOL 2006 L* 95 a* 0 b* -2
GRACOL 2013 L* 95 a* 1 b* -4

5. จัดวาง Test Form ตามขนาดกระดาษขึ้นแท่น

ต้องวาง P2P51 อย่างน้อยจำนวน 2 ตัว ซ้ายขวา
ควรมีภาพคน สิ่งของไว้ติดกับ P2P51 ตามแนวปรับหมึก

6. ยิงเพลท CTP ด้วยการ Linear Plate ขนาดเม็ดสกรีนเท่ากับไฟล์ 40% ได้ 40% วัดค่าเม็ดสกรีนด้วย Plate Meter, Dot Reader ให้อยู่ในช่วง +- 1%

7. ขึ้นแท่นพิมพ์ครั้งที่ 1 ปรับมาร์คตรง คุณภาพเม็ดสกรีน ปริมาณน้ำ ให้ Solid CMYK Density ได้ตาม Target โดยค่า Delta E < 5

8. วัดค่าสี
โดยทิ้งงานให้หมึกแห้งก่อนวัด แต่ถ้าเวลาน้อย ตอนพิมพ์ปรับหมึกให้ Delta E น้อยที่สุดก็สามารถนำมาวัดค่าได้เลย
ในแถวที่ 4 และ 5 ของ P2P51 G7 ได้กำหนดค่า L* a* b* มาตรฐานของแต่ละโทนไว้ เช่น
C6M4Y4 L* = 90.1 a* = 0.35 b* = -2.04
C50M40Y40 L* = 57.6 a* = 0.04 b* = -1.2

Software จะใช้ค่า L* a* b* ของแผ่นพิมพ์แล้วแปลงเป็น
– Weight Delta L* CMY
– Weight Delta Ch* CMY
– Weight Delta L* K

NPD Curve ของการพิมพ์ครั้งที่ 1
เส้นเขียวคือ Standard Density

Gray balance Curve ของการพิมพ์ครั้งที่ 1
การพิมพ์ครั้งที่ 1 เป็นเรื่องปรกติที่ Curve จะไม่ได้

9. Software คำนวณค่าเม็ดสกรีน CMYK ใหม่ส่งให้ RIP ยิงเพลท CTP

10. ขึ้นแท่นพิมพ์ครั้งที่ 2 ใช้ Solid CMYK Density เท่ากับครั้งที่ 1

11. วัดค่าสี
NPD Curve ของการพิมพ์ครั้งที่ 2

Gray balance Curve ของการพิมพ์ครั้งที่ 2

แนวคิดของ G7 หน้าตา Curve เป็นแบบนี้

หวังว่าสมาชิกสมาคมจะเข้าใจกระบวนการ G7 Calibration ไม่มากก็น้อย ขอบพระคุณครับ

ที่มาภาพ
• www idealliance.org/g7
• https://techkonusa.com/
• https://www.xrite.com/