G7

G7

โดย เพจโรงพิมพ์ไทย 5G

เหตุใดแบรนด์ระดับโลกเมื่อส่งงานให้โรงพิมพ์ที่เป็น Supply Chain ในประเทศจีน ไต้หวัน เกาหลี อินเดีย ปากีสถาน เวียดนาม ต้องเลือกโรงพิมพ์ที่ได้รับ G7 Master Certification เท่านั้น

คำตอบที่ 1 คือ “สี Color” แม้ใช้ต่างระบบการพิมพ์ วัสดุต่างกัน หมึกหรือโทนเนอร์ต่างกันก็ตาม G7 ใช้วิธีการ Shared Neutral Appearance คุมโทนเทาให้เท่ากัน ภาพของแบรนด์จึงเกิดความสม่ำเสมอของสี (Color Consistency) ส่วนโทนสีสดในภาพแต่ละระบบการพิมพ์จะต่างกันเพราะ G7 ไม่ได้แก้ไขเหมือนโทนเทา

คำตอบที่ 2 คือ ใช้ 1 ไฟล์ส่งได้หลายระบบการพิมพ์ แม้ความขาวของวัสดุพิมพ์ต่างกันก็ตาม ภาพประกอบนำมาจาก Mr.Ron Ellis เทรนเนอร์เรื่อง G7 เขียนประกอบการสอนไว้ โรงพิมพ์มีแท่น Gravure = 4, Flexo = 3, Wide Format Inkjet = 3, Offset = 10 รวมทั้งหมด 20 เครื่อง
ภาพซ้ายมือวิธีเดิมจะใช้ 20 Artwork = 20 Files ภาพขวามือใช้ G7 จะใช้ 1 Artwork = 1 File

G7 คืออะไร ?

ย่อมาจาก G = Gray, 7 = Seven = CMYK + RGB

G7 คือ วิธีการ (Method) เทียบมาตรฐาน (Calibration) เป็นสเปค (Specification) แต่ไม่ใช่มาตรฐาน (Standard) ไม่ใช่การจัดการสี CMS (Color Management System)

G7 ใช้กับเครื่องพิมพ์ทุกระบบ ตั้งแต่งานขาวดำ Black จนถึงงาน 4 สี CMYK สามารถแลกค่าสีข้ามระบบการพิมพ์ วัสดุพิมพ์ และหมึกที่ต่างกันได้ เช่น พิมพ์ถุงพลาสติคกับพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์

G7 เป็น Gray Management สร้างค่าสีสมดุลเทา (Gray Balance) และโทนเทา (Tonality) ให้สัมพันธ์กับความขาวของวัสดุพิมพ์ (Substrate Relative) G7 จะปรับค่าสี L*a*b* และเปอร์เซนต์สกรีน CMY ให้เห็นเป็นเทากลาง (Neutral Appearance) ไม่ว่ากระดาษนั้นจะเฉดใดก็ตาม

ตัวอย่าง Gray บนวัสดุพิมพ์ต่างกัน ซ้าย= Poly Film กลาง = ความขาวมาตรฐาน ขวา = กระดาษกล่องอมเหลือง

องค์กร IDELliance (International Digital Enterprise Alliance) คิดวิธี G7 ขึ้นมาใช้กับมาตรฐานการพิมพ์ป้อนม้วน SWOP (Specification Web Offset Printing) และมาตรฐานการพิมพ์ป้อนแผ่น GRACoL (General Requirements for Applications in Commercial Offset Lithography) ปัจจุบันทั้งสองสเปครวมอยู่ใน ISO 15339 (Printing from digital data across multiple technology) ฉบับ 2 (Characterized reference printing condition CRPC1 – CRPC7)

คำตอบที่ 2 ว่าการใช้เพียง 1 ไฟล์ส่งไปพิมพ์ได้หลายระบบ แต่ละ CRPC บอกว่าสามารถใช้กับระบบใดบ้าง เช่น O = Offset, G = Gravure, F = Flexo, D = Digital แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่โรงพิมพ์แจ้งกลับลูกค้าว่าค่า L*a*b* ของวัสดุพิมพ์ไม่เท่ากับค่ามาตรฐานของ ISO 15339-2

โดย G7 จะใช้วิธี SCCA (Subtrate Corrected Colorimetric Aims) ป้อนค่า L*a*b* วัสดุพิมพ์ในซอฟท์แวร์จะทำให้เป้าหมาย L*a*b* ของหมึก CMYK เปลี่ยนไปจากค่ามาตรฐานด้วยเพื่อทำ Digital Proof โดยภาพบริเวณ Hi-Light, Gray เหมือนกับใช้ Press Proof สร้าง Process Control ให้ช่างพิมพ์ปรับสีตาม Target ใหม่ ลด Make – Ready Time ได้ ยกตัวอย่างเช่น

CRPC6 L*a*b* มาตรฐาน Paper = 95, 1, -4 Paper ใหม่ที่จะใช้ = 94, 0.5, -8
C = 56, -37, -50 ค่าใหม่ที่จะทำปรู๊ฟ = 55.37, -36.90, -53.11
M = 48, 75, -4 ค่าใหม่ที่จะทำปรู๊ฟ = 47.45, 73.92, -6.24
Y = 89, -4, 93 ค่าใหม่ที่จะทำปรู๊ฟ = 88.06, -4.42, 90.43
K = 16, 0, 0 ค่าใหม่ที่จะทำปรู๊ฟ = 15.83, -0.06, -0.71

ความแตกต่างระหว่าง ISO 12647-2 และ G7

ISO 12647-2 : 2007 2013 มาตรฐานงานพิมพ์ออฟเซตที่นิยมในไทย ใช้หลักการวัด Density, Dot Area ชดเชยเม็ดสกรีนบวม Dot Gain Compensation หรือ Tone Value Increase กับ CMYK และกับ Gray เช่นกันแต่ Gray ไม่เป็นเป้าหมายสำคัญการพิมพ์ จึงนำไปไว้ในภาคผนวกท้ายเล่ม

ส่วน G7 ใช้วิธีการเทียบมาตรฐาน Gray ของ ISO 10128 Methods of adjustment of the color reproduction of a printing system to match a set of characterization สร้าง Gray Balance, Tonality วัดด้วย Delta Ch, Delta L

ส่วนเปอร์เซ็นต์สกรีนเทา CMY ใช้ต่างกันคือ

  • G7
    C25 M19 Y19
    C50 M40 Y40
    C75 M66 Y66
  • ISO 12647-2
    C25 M18.4 Y18.6
    C50 M40.9 Y40.1
    C75 M68.9 Y69.9

หากจะใช้ G7 ในการพิมพ์จะต้องได้รับใบรับรองจาก IDEALliane โดยแบ่งเป็น 2 แบบคือ

1. บุคคล

  • G7 Professional นำความรู้ใช้ใน In – House ได้เท่านั้น
  • G7 Expert นำความรู้ใช้ได้ทุกโรงพิมพ์

2. โรงพิมพ์ G7 Master จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ

  • G7 Grayscale Compliance จับเฉพาะ Gray Balance, Tonality , Shared Neutral Appearance
  • G7 Targeted Compliance ต้องผ่านระดับ Grayscale แล้ว เพิ่มเรื่อง Solid CMYK + RGB Overprint
  • G7 Colorspace Compliance ผ่านสองระดับข้างต้นแล้ว จบที่ CMS, CRPC1-7

G7 Master จะต้องมี G7 Expert เป็นไกด์ในการพิมพ์ตัวอย่างส่งไปให้มหาวิทยาลัย RIT (Rochester Institute of Technology) ที่เป็น 3rd Party ประเมินคุณภาพให้ IDEALliance

หวังว่าท่านสมาชิกสมาคมการพิมพ์ไทยมองเห็นภาพคร่าว ๆ ของ G7 ยังมีรายละเอียดกว่านี้ ขอยกยอดไปเล่มหน้า สวัสดีครับ