วางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 4
พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
วันที่ 18 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30-09.30 น.
ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
คุณพงศ์ธีระ พัฒนพีระเดช ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ และนายกสมาคมการพิมพ์ไทย พร้อมด้วยมนตรีสหพันธ์ฯ เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ 4 เนื่องใน “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย“ และทรงมีคุณูปการต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30 - 09.30น. ณ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
เมื่อปี พ ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและพยากรณ์ว่าวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411จะเกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคามืดหมดดวง จะเห็นได้ชัดที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งทรงพยากรณ์ล่วงหน้าถึง2 ปี โดยไม่มีหลักฐานการคำนวณจากประเทศตะวันตก และเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 อันเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์ไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนบรรดาผู้มาเข้าฝ้าทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ต่างเฝ้ารอคำพยากรณ์ จากการคำนวณทางดราศาสตร์ ในตอนแรกไม่มีผู้ใดแลเห็นสุริยุปราคาตอนเริ่มจับพระองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า คลาสเริ่มจับเวลา 10.04 น. รอจนถึง 10.16 น. คลาสเริ่มจับมากขึ้นทุกที ท้องฟ้าที่สว่างเริ่มมืดสลัวลง จนถึงเวลา 11.20 น. ท้องฟ้ามืดลงจนมองเห็นดวงดาว คลาสจับเต็มดวงเมื่อเวลา 11.36 น. 20 วินาที กินเวลานานถึง 6 นาที 45 วินาที ท้องฟ้ามืดจนเป็นเวลากลางคืน นับเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงตรงตามเวลาที่พระองค์ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ทุกประการ คณะรัฐมนตรี
ได้มีมติเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2525 เทิดพระเกียรติแด่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย“ พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ“ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากจะเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงเป็นบิดาแห่งการพิมพ์ไทย เมื่อครั้งที่พระองค์ ทรงผนวชอยู่นั้นได้ทรงตั้งโรงพิมพ์ที่วัดบวรนิเวศสามารถพิมพ์ได้ทั้งหนังสือไทย บาลี และโรมันมีโรงหล่อที่หล่อตัวพิมพ์ไทยเอง นับว่าเป็นโรงพิมพ์โรงแรกของไทย