ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste)

ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste)

วันที่ 16 ตุลาคม 2562 ณ หมู่บ้าน รางพลับ จ.ราชบุรี
โดยการสนับสนุนของ SCG

สมาชิก Young Printer Group เข้าเยี่ยมชมชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ชุมชนบ้านรางพลับ โดย คุณสนั่น เตชะดี ผู้ใหญ่บ้านชุมชนรางพลับได้กล่าวต้อนรับคณะ Young Printer Group และได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของชุมชนปลอดขยะ หมูบ้านรางพลับว่า ชุมชนมีประชากรเกือบ 3,000 คน ประกอบอาชีพหลากหลาย เน้นลดขยะอินทรีย์ บ้านนี้เปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้แปรรูปขยะทั่วไปและขยะรีไซเคิล นำถุงที่ไม่ใช้แล้ว ทั้งถุงปุ๋ย ถุงข้าวสาร ถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม และกล่องนม มาทำเป็นหมวกจำหน่ายสร้างรายได้ บางบ้านทำปุ๋ยมูลไส้เดือนสร้างรายได้กิโลกรัมละเกือบ 600 บาท โดยโครงการชุมชุมปลอดขยะ (Zero Waste) ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัท SCG

การเยี่ยมชมชุมชนปลอดขยะในครั้งนี้ ได้แบ่งออกเป็น 3 ฐาน ดังนี้

ฐานที่ 1 คุณวิเชียร โสภา ครอบครัวต้นแบบการทำปุ๋ยอินทรีย์โดยการเลี้ยงไส้เดือน คุณวิเชียรส่งเสริมให้ชุมชนบนรางพลับทำเกษตรพอเพียง จึงริเริ่มทำปุ๋ยอินทรีย์จากมูลไส้เดือน โดยนำเศษผักและผลไม้ที่เหลือใช้จากครัวเรือนมาเป็นอาหารให้กับไส้เดือน ปุ๋ยที่ได้จะนำมาแจกให้กับเกษตรกรในชุมชนและจำหน่ายในราคาย่อมเยาแก่ผู้ที่สนใจ ทำให้มูลไส้เดือนแก่ผู้ที่สนใจ ทำให้ชุมชนมีปุ๋ยอินทรีย์ใช้โดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมี ดีต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ คุณวิเชียรยังได้แบ่งปันวิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ให้กับคนในชุมชนสามารถนำไปผลิตใช้เองได้

ฐานที่ 2 คุณฟอง ทองกันยา ครอบครัวต้นแบบการคัดแยกขยะรีไซเคิลที่ละเอียดและสามารถเพิ่มมูลค่า ป้าฟองมีความรู้และความเข้าใจในวัสดุรีไซเคิลและการคัดแยกขยะเพิ่มมูลค่า จึงสร้างฐานการเรียนรู้การคัดแยกขยะรีไซเคิลอย่างละเอียด เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนร่วมคัดแยกขยะแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้องตั้งแต่ต้นทาง เมื่อนำไปขายก็จะได้มูลค่าสูงขึ้น ขยะแต่ละประเภทก็จะถูกนำไปรีไซเคิลให้เป็นวัสดุใหม่เพื่อนำกลับมาใช้ได้อีกอย่างคุ้มค่า

และในฐานสุดท้าย คุณกลม นาดขะโหนง ครอบครัวต้นแบบการหมุนเวียนใช้ขยะในแปลงเกษตร ป้ากลมมีอาชีพขายกล้วยฉาบและทำการเกษตร ได้เห็นเปลือกกล้วยและขยะใบไม้ในแปลงเกษตรเกิดขึ้นจำนวนมาก จึงเกิดความคิดในการนำขยะเหล่านี้มาหมุนเวียนทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อนำไปใช้เป็นอาหารพืชในแปลงเกษตร ติดตั้งธนาคารน้ำจากวัสดุเหลือใช้เพื่อกักเก็บน้ำที่ใช้แล้วกลับมากรองและใช้รดต้นไม้ มีการคัดแยกน้ำมันที่ทอดกล้วยแล้วและขยะอื่นๆ เพื่อนำไปรีไซเคิลและกำจัดอย่างถูกวิธี และนำเศษอาหารไปใส่ในกระถาง Circular Garden เพื่อให้เกิดการย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างง่ายๆ

หลังจากจบกิจกรรมทั้ง 3 ฐาน เป็นการประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ การผลิตกระถางประหยัดน้ำจากขวดพลาสติก และการประดิษฐ์กระดาษเปเปอร์มาเช่ท์ กิจกรรมดีๆ ในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2562 ณ หมู่บ้าน รางพลับ จ.ราชบุรี โดยการสนับสนุนของ SCG ซึ่งทาง Young Printer Group และสมาคมการพิมพ์ไทยขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้