YPG จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน SCG Circular Way

YPG จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน SCG Circular Way

วันที่ 16 ตุลาคม 2562 เวลา 10.00-12.00 น.
ณ บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด จ.ราชบุรี

Young Printer Group จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งนำขยะมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า มีกำลังการผลิต 9.0 เมกกะวัตต์ต่อวันหมุนเวียนกลับมาใช้ให้คุ้มค่า พร้อมทั้งรับฟังการบรรยายพิเศษ ร่วมสร้างพฤติกรรมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ให้คุ้มค่าที่สุด ไปด้วยกันกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้แนวปฏิบัติ SCG Circular Way ด้วยการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตั้งแต่การผลิต การใช้และวนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นวัตถุดิบใหม่ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2562 เวลา 10.00-12.00 น. ณ บริษัท เอสซีจี เปเปอร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คืออะไร

แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือ การหมุนเวียนใช้ทรัพยากรธรรมชาติในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสีย วัตถุดิบ สินค้าที่หมดอายุ และพลังงาน ให้กลับไปเป็นทรัพยากรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบด้วยกระบวนการที่เหมาะสม เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นแนวทางธุรกิจใหม่โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตลาด ลูกค้า และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ รวมถึงใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ (Disruptive Technologies) ในการเปลี่ยนระบบผลิตทางตรงจาก Make > Use > Dispose ไปสู่ระบบผลิตแบบหมุนเวียน คือ Make > Use > Return

เป้าหมายและแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงเป็นการรักษาคุณค่าของทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรใหม่น้อยที่สุด โดยการสร้างระบบการผลิตใหม่ (Re-process) ผ่านการออกแบบใหม่ (Re-design) การสร้างคุณค่าใหม่ (Added value) การสร้างนวัตกรรมใหม่ (Innovation) การสร้างความร่วมมือ (Collaboration) เพิ่มขึ้น ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และการใช้ซ้ำ (Reuse) ถือเป็นการสร้างคุณค่าที่ดีขึ้นและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม รวมถึงธุรกิจ

แนวทางปฏิบัติตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)
เพื่อให้มีความทนทาน และมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น เอื้อต่อการแยกชิ้นส่วนเพื่อรีไซเคิล หรือใช้ซ้ำ หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรน้อยลงแต่คุณภาพยังคงเดิม

2. การจัดหาทรัพยากร (Resource Input)
การใช้วัตถุดิบที่ได้จากการรีไซเคิลและการใช้ซ้ำ หรือการเลือกใช้ทรัพยากรที่มาจาก Renewable Resources ในการผลิตสินค้า และการใช้พลังงานทดแทนในกระบวนการผลิต

3. การผลิต (Manufacturing)
โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ (Autonomation) เพื่อเพิ่มความแม่นยำในกระบวนการผลิต ซึ่งส่งผลให้ของเสียจากกระบวนการผลิต การใช้น้ำและพลังงานลดลง

4. การขาย การตลาด และการขนส่ง (Sale and Distribution)
ส่งเสริมระบบขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ระบบการเช่าสินค้า (Leasing) และ Sharing Platform เพื่อให้การขายและขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรวบรวมข้อมูลเพื่อให้เกิดการ Optimization ในขั้นตอนการขายและขนส่ง

5. การใช้งานผลิตภัณฑ์ (Product Use)
จากการออกแบบที่ทนทานมากขึ้น และง่ายต่อการแยกชิ้นส่วน พร้อมด้วยการบริการซ่อมบำรุง ทำให้การใช้ผลิตภัณฑ์เกิดประสิทธิภาพยาวนานมากที่สุดตลอดช่วงอายุการใช้งาน

6. การกำจัด (Recovery)
ผลิตภัณฑ์ที่สิ้นอายุจะผ่านกระบวนการจัดการที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการส่งของเสียไปยังหลุมฝังหลบ เกิดการหมุนเวียนวัตถุดิบจากผลิตภัณฑ์ที่สิ้นอายุให้อยู่ในวงจรการผลิตและบริโภคให้นานที่สุด โดยประยุกต์ใช้กระบวนการนำกลับต่างๆ เช่น การใช้ซ้ำ การรีไซเคิล การนำกลับพลังงานจากขยะ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า