Thai Print Academy หลักสูตรการพิมพ์ออฟเซ็ตเบื้องต้น รุ่นที่ 12

หลักสูตรการพิมพ์ออฟเซ็ตเบื้องต้น รุ่นที่ 12
Thai Print Academy

หลักสูตรการพิมพ์ออฟเซ็ตเบื้องต้นเป็นโครงการหลักสูตรเกียรติบัตร มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนาความรู้ด้านเทคนิค และการผลิต ตลอดจนกระบวนการฝึกทักษะในองค์กร เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบถึงหลักทฤษฎี และขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพิมพ์อันหลากหลาย รวมถึงหมึก และน้ำยาเคมีต่าง ๆ เป็นต้น เตรียมรับมือกับปัญหาทางด้านเทคนิคต่าง ๆ รวมถึงได้เรียนรู้วิธีการผลิตตลอดจนปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพของงานพิมพ์และได้ฝึกฝนจากกระบวนการทำงานจริงที่เกี่ยวกับการใช้เครื่องมืออีกด้วย

สถาบันการพิมพ์ไทยได้เปิดอบรมหลักสูตรการพิมพ์ออฟเซ็ตเบื้องต้น ในปี 2561 ในปีนี้เป็นการเปิดอบรมรุ่นที่ 12 โดยโครงการนี้เปิดเรียนไปแล้วเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561 และสิ้นสุดในวันที่ 21 เมษายน 2561 ใช้เวลาเรียนวันเสาร์ เวลา 9.30-16.30 น. ณ Thai Print Academy ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจัณฑ์สินสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ช่วงเวลาการเรียน จะแบ่งเป็นช่วงเช้าภาคทฤษฎี ช่วงบ่ายภาคปฏิบัติ การสอนทฤษฎีช่วงเช้านี้อาจารย์ผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถามข้อสงสัยได้ตลอดเวลา และเนื่องด้วยนักเรียนที่มาเรียนนั้น ต่างก็มีความเชียวชาญในด้านต่าง ๆ อย่างเช่น บริษัทขายหมึกก็จะมีความรู้เรื่องหมึกและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันกับนักเรียนที่อยู่สายโรงพิมพ์ รวมถึงนักเรียนที่มาจากสายธุรกิจกระดาษ นักเรียนที่มาเรียนจะได้รับความรู้ที่หลากหลายสามารถนำไปใช้งานในได้จริง หลังจากจบการบรรยายแล้ว อาจารย์ผู้สอนจะทำการทดสอบ โดยมีข้อสอบให้นักเรียนทำทุกครั้งหลังจากทำการสอนจบ เพื่อประเมินนักเรียนว่ามีความรู้ความเข้าใจมากหรือน้อย หลังจากเฉลยข้อสอบแล้ว อาจารย์จะพานักเรียนลงไปที่เครื่องพิมพ์เพื่อเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ต่าง ๆ หลังจากเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว จะให้พักรับประทานอาหารกลางวันซึ่งทางสถาบันจัดเตรียมไว้ให้กับนักเรียนทุกท่าน ในการเรียนภาคปฏิบัติช่วงบ่าย อาจารย์ผู้ชำนาญการคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อสอนขั้นตอนตั้งแต่การตั้งเครื่องพิมพ์ ทำเพลท ฯลฯ

หัวข้อการฝึกอบรมการพิมพ์ออฟเซ็ตเบื้องต้นมีดังนี้

  1. เครื่องพิมพ์ออฟเซ็ต และความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องพิมพ์
  2. ความรู้เกี่ยวกับระบบการพิมพ์ออฟเซ็ต
  3. กระดาษ
  4. หมึกพิมพ์ออฟเซ็ต
  5. น้ำยาฟาวน์เทน
  6. แม่พิมพ์ระบบออฟเซ็ต และผ้ายางออฟเซ็ต
  7. ระบบทำความชื้น
  8. ระบบหมึก
  9. การรองหนุน
  10. การบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ต

เครื่องพิมพ์ที่ใช้สอนภายในสถาบันการพิมพ์ไทย ประกอบด้วย

  1. เครื่อง CPT หรือคอมพิวเตอร์ทูเพลท รุ่น Magnus 800 Platesetter
  2. เครื่องพิมพ์ MOS ไฮเดลเบิร์กสีเดียว จำนวน 4 เครื่อง
  3. เครื่องพิมพ์ GTO ไฮเดลเบิร์กสีเดียว จำนวน 4 เครื่อง
  4. เครื่องพิมพิมิตซูบิชิ 4 สี รุ่น Dimond 300 L
  5. เครื่องไสกาว Muller Martini รุ่น Amigo-Plus 4 หัว
  6. เครื่องเย็บมุงหลังคา พร้อมเครื่องตัด 3 ด้าน Muller Martini รุ่น Valore
  7. เครื่องตัด Polar จำนวน 1 เครื่อง

ในรุ่นนี้ผู้ประกอบการโรงพิมพ์ เจ้าของกิจการที่เกี่ยวข้อง ต่างยังเชื่อมั่นถึงประโยชน์ที่ได้รับ จึงมีการส่งบุตรหลาน และพนักงานเข้าฝึกอบรม ครบจำนวนตามเป้าหมายของการเปิดเรียน www.thaiprint.org