Flexo or Digital ? ตอนที่ 3 การคำนวณต้นทุน

p52-53_02

Flexo or Digital?
ตอนที่ 3 การคำนวณต้นทุน
บมจ.หาญ เอ็นจิเนียริ่ง โซลูชั่นส์

เพื่อให้การคำนวณสะท้อนสถานการณ์ และปัจจัยการผลิตจริงเพื่อให้การวิเคราะห์นี้อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลจริง จำเป็นอย่างยิ่งที่ลูกค้าจะต้องประเมินและรวบรวมข้อมูลการผลิตของตนเอง ไม่แนะนำให้ใช้ข้อมูลคร่าวๆ หรือข้อมูลเบื้องต้น เราจึงพัฒนาโปรแกรมสำหรับป้อนค่าต่าง ๆ และใช้คำนวณต้นทุนค่าใช้จ่ายของงานพิมพ์แต่ละงานโดยละเอียด จากผลที่ว่า Liquid Toner มักจะมีต้นทุนสูงที่สุด ดังนั้นโปรแกรมนี้จะคำนวณเปรียบเทียบระหว่างคู่แข่งขันที่สูสีกันคือ UV-Flexo Press และ Digital UV-Inkjet Press

p52-53_03

ในโปรแกรมจะมีช่องสำหรับใส่ค่าต่าง ๆ ของงานที่ต้องการคำนวณ ประกอบด้วยเวลาการเตรียมเครื่องและเวลาที่ใช้พิมพ์ หน่วยเป็นนาที คำนวณค่าเสื่อมราคาเครื่องต่อชั่วโมง ค่าวัสดุลาเบล (ทั้งของดี และของเสีย) ค่าเพลทพิมพ์ (Flexo) ค่าหมึก (ทั้งหมึกที่พิมพ์ และหมึกที่ล้างทิ้ง) และค่าแรงงาน จากตัวอย่างได้แสดงให้เห็นว่าที่ปริมาณผลิต 2,500 เมตร (Fig. 7) ต้นทุนการพิมพ์ของ Flexo และ Digital Inkjet จะเท่ากัน หรือเรียกว่าจุดสมดุล และจุดสมดุลนี้ไม่ใช่ค่าที่นิ่งคงที่เสมอไป
แต่ก็สามารถใช้เป็นแนวทางได้ว่าเทคโนโลยีใดมีประสิทธิภาพดีกว่าหรือแย่กว่าสำหรับการพิมพ์งานที่มีปริมาณน้อย ๆ
กราฟนี้ใช้ข้อมูลจากตาราง (Fig. 8) มาคำนวณเพื่อออกรายงาน อย่างเช่น ราคาเครื่อง Flexo จะถูกกว่า และมีระยะเวลาตัดค่าเสื่อมนานกว่าเครื่อง Inkjet ถึงสองเท่าแต่ก็มีเพียงความเร็วพิมพ์เท่านั้นที่เร็วกว่าเครื่อง Inkjet ขณะที่ด้านอื่น ๆ เครื่อง Inkjet ทำได้ดีกว่าทุก ๆ ด้าน ข้อมูลเหล่านี้ใช้กับงานพิมพ์ลาเบลสี่สี จำนวน 75,000 ลาเบล พิมพ์ 2 Version เลย์เอ้าท์ 3 แถว บนวัสดุลาเบลหน้ากว้าง 330 มม. ค่าวัสดุลาเบล 0.39 ยูโร/ตรม. เครื่องทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน 5 วัน/สัปดาห์ 48 สัปดาห์/ปี และใช้พนักงานคุมเครื่อง 1 คน ค่าแรงคน 40 ยูโร/ชั่วโมง จากการคำนวณง่าย ๆ และใช้ข้อมูลจากขบวนการผลิตจริง จะบ่งบอกได้ชัดเจนถึงศักยภาพที่แท้จริงของเทคโนโลยี