การเตรียมความพร้อมก้าวสู่ยุค
ประเทศไทย 4.0
เรื่องโดย คุณจารุวัฒน์ เศวตพัชราภรณ์ และคุณวรภพ ตันติวาณิชชากร
กระแสการเปลี่ยนแปลงสำคัญของโลกกำลังเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อกำลังก้าวเข้าสู่ยุค “Industry 4.0” รัฐบาลไทยก็ประกาศนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” เพื่อขานรับการเปลี่ยนแปลงนี้ตามบริบทของประเทศไทยทันที ภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ และต้องทำความเข้าใจกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นและปรับตัว
แน่นอนว่าอุตสาหกรรมการพิมพ์ก็เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญดังกล่าว ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการพิมพ์ได้ก้าวไปสู่ยุค ‘Industry 4.0” พร้อมๆ กัน บริษัท ไฮเดลเบิร์ก กราฟฟิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้จัดการสัมมนาเรื่อง “เตรียมความพร้อม ก้าวสู่ยุค Industry 4.0” ขึ้นมาเมื่อวันเสาร์ที่ 10 กันยายน 2559 ที่ห้องประชุมสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีผู้เข้าร่วมงานสัมมนากว่า 100 คน
เริ่มการสัมมนาโดย รศ.ผกามาศ ผจญแกล้ว ผู้อำนวยการสำนักพิมพ์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีการพิมพ์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช(มสธ.) กล่าวต้อนรับผู้ร่วมสัมมนา พร้อมเน้นย้ำความพร้อมของมสธ. ในการร่วมผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ และพร้อมในการก้าวเข้าสู่ยุค Industry 4.0
จากนั้น คุณจารุวัฒน์ เศวตพัชราภรณ์ กรรมการ บริษัท แอพพลายด์ คอนเซาแตนท์ แอนด์ เทรนนิ่ง จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจ ประเดิมเข้าสู่เนื้อหาการสัมมนา ด้วยการเล่าถึงวิวัฒนาการของยุค Industry 1.0 – 3.0 ก่อนจะนำเข้าสู่ยุค Industry 4.0 ที่เกิดจากนโยบาย “The Hi-TechStrategy of the Germans” ที่ต้องการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเป็นผลจากบทบาทของดิจิตอลที่เพิ่มขึ้นในด้านสังคมเศรษฐกิจและด้านเทคโนโลยี
การเปลี่ยนแปลงสู่ยุค 4.0 นี้ เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำหน้า และเทคโนโลยีการสื่อสารเข้าด้วยกัน ได้แก่ Big Data and Analytics, Clouds, Internet of Things (IoT), Cyber Security, Simulation, Augmented Reality, Additive Manufacturing,Autonomous Robot, Horizontal and Vertical System Integration โดยแนวคิดของ industry 4.0 เป็นการสร้างระบบห่วงโซ่คุณค่าที่มีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นสูง ด้วยการเชื่อมต่อการสื่อสารของคน เครื่องจักร ชิ้นงาน ระบบโลจิสติกส์ และระบบการทำงานก่อให้เกิดเครือข่ายการทำงานที่มีความชาญฉลาดที่ควบคุมซึ่งกันและกันอย่างอัตโนมัติตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า หรือที่เรียกว่า “Cyber-Physical System (CPS)” ระบบดังกล่าวจึงช่วยลดต้นทุนด้านการทำตัวอย่าง การผลิต การจัดเก็บสินค้า การบำรุงรักษา และการจัดการคุณภาพ ทั้งยังทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และความต้องการผลิตภัณฑ์แบบเฉพาะรายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในส่วนของอุตสาหกรรมการพิมพ์นั้น หัวใจสำคัญของการก้าวเข้าสู่ยุค Industry 4.0 คือ
1) เตรียมกลยุทธ์องค์กร : สร้าง value creation ให้ลูกค้าและ smart operation เข้าใจเส้นทางธุรกิจ (value chain) เข้าถึงความต้องการ และสร้างความร่วมมือกับลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องกับทุกหน่วยใน value chains และกำหนดวิสัยทัศน์มุ่งสู่การสร้าง digital business model และกระบวนการภายในที่เป็นดิจิตอล
2) เตรียมปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร : สร้างองค์กรนวัตกรรมและความยืดหยุ่น
• Centers of Excellence ทีมที่รวมตัวจากหลายหน่วยงาน (inter-disciplinary team) แบบเฉพาะกิจเพื่อแก้ปัญหาหรือทำงานพัฒนาปรับปรุง
• Center of Innovation ทีมที่เป็นอิสระจากองค์กรปกติ ที่คิดสร้างสรรค์นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ รูปแบบธุรกิจ ฯลฯ
3) เตรียมความพร้อมเทคโนโลยี : “เลือกเทคโนโลยีที่ใช่ ในเวลาที่เหมาะสม” เทคโนโลยีสารสนเทศที่ตอบสนองความยืดหยุ่นของธุรกิจซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดเก็บ รวบรวม และจัดการข้อมูล และเชื่อมโยงกับหน่วยต่างๆ ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ, ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต, เครื่องจักรและเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ
4) เตรียมคน : “สร้าง Smart Employee”
• พัฒนากลยุทธ์ในการดึงดูดให้องค์กรมีบุคลากรที่ความรู้ และทักษะใหม่ๆ
• ปรับปรุง job profiles ให้ทันสมัยและมี digitalskills เป็นหนึ่งในทักษะพื้นฐาน
• พัฒนาทักษะที่สำคัญให้กับบุคลากร
• สร้างบทบาทหน้าที่ใหม่ๆ ที่สนับสนุนกลยุทธ์องค์กร เช่น data scientists, user interface designers,digital innovation managers
5) เตรียมปรับกระบวนการ สร้างกระบวนการที่เป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรม 4.0
• ปรับกระบวนการเข้าสู่ดิจิตอล
• ความสามารถในการเชื่อมต่อ
• ปรับกระบวนการให้น่าเชื่อถือ
– มาตรฐาน (standardization)
– การผลิตแบบลีน (lean manufacturing)
• ปรับกระบวนการให้มีความยืดหยุ่น (flexible) และปรับเปลี่ยนได้ง่าย (adaptable)
ด้าน คุณวรภพ ตันติวาณิชากร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์พริ้นเน็คท์ (Prinect) บริษัท ไฮเดลเบิร์ก กราฟฟิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำเสนอแนวคิดการทำงานรูปแบบใหม่สำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์ในยุคดิจิตอล โดยซอฟต์แวร์พริ้นเน็คท์และเวิร์คโฟลการพิมพ์ของไฮเดลเบิร์กซึ่งมีรูปแบบพื้นฐานที่เชื่อมต่อข้อมูลระบบการทำงานในโรงพิมพ์และเครื่องจักรด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงตอบโจทย์ในการเชื่อมต่อข้อมูลในทุกขั้นตอนการทำงาน สร้างเสริมประสิทธิภาพในการผลิต ตามแนวทาง CPS (Cyber-Physical System) เพื่อให้โรงพิมพ์เป็นโรงพิมพ์ที่สมาร์ท (Smart Print Shop) มีรูปแบบการทำงานที่ง่ายขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น
สามารถแสดงกระบวนการผลิตที่เชื่อมต่อการทำงานร่วมกันอย่างครบวงจรได้ในทันที ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างขั้นตอนต่างๆ ในการผลิตชิ้นงาน การเชื่อมต่อกับลูกค้า การเชื่อมต่อกับผู้ขายหรือซัพพลายเออร์ การบริการต่างๆ เช่นการขนส่ง รวมทั้งการเชื่อมต่อกับเจ้าของโรงพิมพ์ เพื่อให้สามารถติดตามการทำงาน รวมทั้งสั่งการและตัดสินใจได้ทันท่วงที รองรับการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก (Big Data Analysis) โรงพิมพ์จะมีข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น เป็นระบบซัพพลายเชนแบบดิจิตอลให้กับลูกค้า ช่วยให้ลูกค้าสามารถพิมพ์งานโดยระบบออฟเซตคู่ขนานไปพร้อมๆ กับเทคโนโลยีดิจิตอล
จากนั้นวิทยากรรับเชิญ คุณกฤต บุญนำมา กรรมการผู้จัดการ บริษัท รุ่งศิริ พลับลิชชิ่ง จำกัด โรงพิมพ์มาแรงแห่งยุค ได้ออกมาแบ่งปันประสบการณ์การใช้งานระบบพริ้นเน็คท์ของไฮเดลเบิร์กว่าใช้ประโยชน์ได้จริง เกิดประโยชน์สูงสุดแค่ไหน และได้เปิดแอพพลิเคชั่นบนมือถือให้ได้เห็น ว่าสามารถเปิดเข้าไปเช็คงานที่กำลังพิมพ์อยู่ในโรงพิมพ์ตอนนี้ได้ทันทีว่า งานไหนอยู่ขั้นตอนไหน จะเสร็จเมื่อไหร่ รวมทั้งสามารถลดต้นทุนได้ด้วยการใช้ระบบเข้ามาควบคุมคุณภาพการผลิตในแต่ละขั้นตอน ลดปัญหาต่างๆ ลงไปได้มาก
แถมด้วย คุณอุฬาร อุฬารตินนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยู แอล พริ้นติ้งแอนด์แพ็กเก็จจิ้ง จำกัด โรงพิมพ์ที่ใช้ระบบเข้ามาบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ออกมาเล่าประสบการณ์ให้ฟังอีกว่า การใช้ระบบเข้ามาควบคุมการบริหารงานในโรงพิมพ์นั้น ช่วยลดปัญหาต่างๆ ลงได้มาก รวมทั้งโชว์หน้าจอระบบพริ้นเน็คท์ ให้ดูกันด้วยว่า สามารถดูข้อมูลอะไรได้บ้าง และใช้ประโยชน์ได้อย่างไร